Page 26 - kpi20761
P. 26
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 25
เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการหลักการแรงงานสากลสมัยปัจจุบันนั่นเอง
ครั้นต่อมา การท�างานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศต้อง
หยุดชะงักลง เนื่องจากการปะทุขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สอง อันส่งผล
ให้องค์การสันนิบาตชาติต้องล้มสลายไป แต่เมื่อสงครามยุติลงและมีการ
จัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ อีกทั้งผลของปฏิญญา
ฟิลาเดลเฟีย ที่มีการกล่าวถึงเรื่องการแรงงานไว้ ๔ ประเด็นส�าคัญ คือ
๑๐
(๑) แรงงานมิใช่สินค้า
(๒) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการตั้งสมาคม
เป็นสิ่งจ�าเป็นส�าหรับการก้าวหน้าที่ยั่งยืน
(๓) ความยากจน ณ ท้องที่ใด ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อ
ความเจริญรุ่งเรืองในทุกหนทุกแห่ง และ
(๔) มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะแสวงหาทั้งสวัสดิภาพด้านวัตถุ
และพัฒนาการด้านจิตใจ ภายใต้เงื่อนไขของเสรีภาพ
และความภาคภูมิ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและโอกาสที่
เท่าเทียมกัน โดยมิค�านึงถึง เชื้อชาติ ความเชื่อถือ หรือ
เพศใดๆ ทั้งสิ้น
เป็นผลให้ที่ประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติได้ยอมรับ
องค์การแรงงานระหว่างประเทศกลับมาท�าหน้าที่เดิมอีกครั้งในฐานะ
ทบวงช�านัญพิเศษด้านปัญหาสังคมแรงงานเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๑๙๔๖
๑๑
นับถึงปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิก ๑๘๗ ประเทศ ซึ่งองค์การ
๑๐
(ออนไลน์), Declaration of Philadelphia, http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/
public/---asia/---ro-bangkok/---ilo-islamabad/documents/policy/wcms_142941.pdf,
(เข้าถึงเมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)
๑๑ (ออนไลน์), http://www.ilo.org/public/english/standards/relm/country.htm, (เข้าถึง
เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐)
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 25 13/2/2562 16:24:07