Page 28 - kpi20761
P. 28

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  27


                    เกี่ยวกับการแรงงานในเรื่องอื่นๆ อีกหลายฉบับแต่ก็มีการโต้แย้งคัดค้าน
                    จนไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวกับการแรงงาน ประกาศใช้อีกเลยจนกระทั่ง
                                                      ๑๔
                    ปี ๒๔๙๙ รัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ผลักดันให้มีการ
                    ประกาศใช้กฎหมายแรงงานในชื่อ “พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. ๒๔๙๙”
                    โดยให้มีผลใช้บังคับในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ เป็นต้นไป เพื่อเป็น

                    ของขวัญที่รัฐบาลมอบให้แก่ประชาชนในโอกาสปีกึ่งพระพุทธกาล ซึ่งใน
                    พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการคุ้มครอแรงงาน เงินทดแทน

                    การแรงงานสัมพันธ์ และการระงับข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งในทางวิชาการ
                    ถือเป็นกฎหมายแรงงานที่ค่อนข้างมีความสมบูรณ์ กระนั้น กฎหมายฉบับนี้
                    ก็มีผลใช้บังคับได้เพียงปีเศษก็จ�าต้องถูกยกเลิกไปด้วยเหตุผลว่าเกิด

                    การเรียกร้องสิทธิต่างๆ ของผู้ใช้แรงงานที่ถูกรับรองโดยกฎหมายฉบับนี้
                    อย่างกว้างขวางอันถือเป็นอุปสรรคต่อการที่รัฐบาลจะพัฒนาประเทศ

                    ในขณะนั้นเป็นอย่างมาก ท�าให้ประเทศไทยต้องเข้าสู่สภาวะที่ไม่มี
                    บทกฎหมายแรงงานในระดับพระราชบัญญัติรับรองสิทธิของผู้ใช้แรงงาน
                    อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นอีกเจ็ดปี รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ

                    ก�าหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ขึ้น ในปี ๒๕๐๘ อีกทั้งมีการน�าเนื้อหา
                                               ๑๕
                    กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน และเงินทดแทนมาทบทวนและ

                    ประกาศใช้ในรูปของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน
                                                        ๑๖
                    (ผ่านประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๐๓  ซึ่งได้ให้อ�านาจไว้) อยู่เป็น
                    เวลาร่วม ๑๘ ปี โดยที่ไม่มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการแรงงาน

                    ในรูปของพระราชบัญญัติเลย กระทั่งช่วงปี ๒๕๑๖ เป็นต้นมา การเรียกร้อง
                    ประชาธิปไตยของประชาชนจากรัฐบาลเผด็จการทหาร กลายเป็นจุดเริ่มต้น

                    อีกครั้งหนึ่งที่ท�าให้ลูกจ้างผู้ใช้แรงงานตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตน



                    ๑๔  สุดาศิริ  วศวงศ์ และปานทิพย์  พฤษาชลวิทย์, อ้ำงแล้ว.
                    ๑๕
                       รก. เล่มที่ ๘๒ ตอนที่ ๑๑๔ ฉบับพิเศษ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๘
                    ๑๖  รก. เล่มที่ ๔๑ ตอนที่ ๑ ฉบับพิเศษ ๑๖ มีนาคม ๒๕๑๕





         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   27                                     13/2/2562   16:24:07
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33