Page 34 - kpi20761
P. 34
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 33
อย่างไรก็ตาม เพื่อความถูกต้องของผลการวิจัยที่ไม่ได้อิงกับ
ลายลักษณ์อักษรและอคติส่วนตนของผู้วิจัยที่เกิดจากการตีความกฎหมาย
เพียงอย่างเดียว คณะผู้วิจัยจะได้ใช้วิธีการหาข้อมูลในทางปฏิบัติด้วยการ
สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์
ด้านกฎหมายแรงงาน ด้านการปฏิบัติการบริหารจัดการแรงงาน และด้าน
นโยบายแรงงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงปฏิบัติมาใช้ปรับปรุงเนื้องานให้มี
๒๒
ความถูกต้องสมบูรณ์และประจักษ์ในปัญหาที่แท้จริงที่กฎหมายเกี่ยวกับ
การแรงงานควรได้รับการแก้ไขและพัฒนานในระยะช้าเร็วแตกต่างกัน
อย่างแท้จริง กระนั้นการปรับปรุงบทกฎหมายย่อมมีผลกระทบต่อสังคม
อันอาจเป็นสาเหตุที่ท�าให้ข้อเสนอเพื่อการพัฒนากฎหมายไม่อาจน�าไป
ใช้ปฏิบัติให้ได้ผลจริง คณะผู้วิจัยจึงจะได้ศึกษามาตรการเสริมทั้งที่เป็น
มาตรการทางสังคมและเศรษฐกิจที่อาจน�ามาใช้เป็นส่วนประกอบเมื่อมี
การน�าข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายแรงงานไปใช้ปฏิบัติจริง ด้วย
คาดหมายว่ามาตรการเสริมเช่นว่านี้จะเป็นการลดการต่อต้านของสังคม
ที่อาจมีต่อบทกฎหมายแรงงานซึ่งได้รับการแก้ไขปรับปรุงขึ้นนั้นในระยะแรก
ประกอบด้วย
๒๒ โปรดดู บทสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในภาคผนวก
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 33 13/2/2562 16:24:07