Page 39 - kpi20761
P. 39

38

                         ๑.๑.๑ กรอบแนวคิดของ “กฎหมายแรงงาน”


                         นิยำมกฎหมำยแรงงำน ด้วยประเทศไทยไม่มีประมวลกฎหมาย
                 แรงงาน ท�าให้พระราชบัญญัติที่มีชื่อเฉพาะและมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงาน

                 หลายฉบับมีสถานะเป็นกฎหมายแรงงานในความเข้าใจของนักวิชาการไทย
                 อย่างไรก็ตาม อาจเกิดค�าถามได้ว่ากรอบเนื้อหาที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับ

                 การแรงงานในพระราชบัญญัติเหล่านั้นจ�าต้องมากน้อยแคบกว้างเพียงใด
                 จึงจะจัดว่าบทบัญญัติฉบับนั้นเป็นกฎหมายแรงงาน ประเด็นปัญหาข้อนี้
                 ยังคงเป็นค�าถามที่ไม่มีข้อยุติที่ชัดเจนเท่าใดนัก หากแต่เป็นการยอมรับ

                 กันโดยทั่วไปว่ากฎหมายแรงงานต้องเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการบริหาร
                                   ๒๓
                 จัดการแรงงานมนุษย์  นั่นหมายความถึงบทกฎหมายที่บริหารจัดการ
                 นิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาจ้างแรงงานซึ่งโดยทั่วไปมักเรียกว่านายจ้าง
                 ลูกจ้าง  ตั้งแต่การเริ่มต้นขึ้นซึ่งสัญญา ระหว่างที่สัญญามีผลใช้บังคับ
                       ๒๔
                 ระหว่างกัน ระหว่างที่มีเหตุการณ์เข้าแทรกแซงอันมีผลให้นิติสัมพันธ์

                 จ�าต้องระงับหรือสะดุดลงเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งการสิ้นสุดนิติสัมพันธ์
                 ระหว่างกันเป็นการถาวร ย่อมมีคุณค่าเป็นกฎหมายแรงงานโดยสภาพ










                 ๒๓
                   โปรดศึกษาในส่วนน�า ย่อหน้าที่ ๒
                 ๒๔  โดยทั่วไปมักเป็นที่เข้าใจว่าบุคคลที่เรียกว่านายจ้างลูกจ้างคือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์ตาม
                 สัญญาจ้างแรงงาน แต่ในทางบทกฎหมายแรงงานนั้นมิได้ให้ความส�าคัญที่ชื่อของคู่สัญญา
                 แต่ประการใด ในทางกลับกัน กฎหมายให้ความส�าคัญกับลักษณะของนิติสัมพันธ์กล่าวคือ
                 บุคคลฝ่ายหนึ่งจะต้องมีอ�านาจบังคับบัญชาต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง และนิติสัมพันธ์ของ
                 ทั้งสองฝ่ายต้องมีลักษณะของความเป็นสัญญาเฉพาะตัว เป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทน อันเป็น
                 ลักษณะเด่นของสัญญาจ้างแรงงาน (คณะผู้วิจัย) โปรดศึกษาเพิ่มเติม วินัย  ลู่วิโรจน์, หลัก
                 วินิจฉัยลักษณะส�ำคัญของสัญญำจ้ำงแรงงำน, (กรุงเทพฯ : ครีเอทีฟ คอนเนอร์, ๒๕๔๖)







         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   38                                     13/2/2562   16:24:08
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44