Page 40 - kpi20761
P. 40

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  39


                             ควำมเป็นกฎหมำยแรงงำนของบทกฎหมำยที่เกี่ยวข้องกับ
                    ประชำกรวัยท�ำงำน กระนั้น กฎหมายส่วนหนึ่งได้ก�าหนดสิทธิหน้าที่

                    ระหว่างบุคคลที่ไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานไว้ หากแต่
                    คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งอาจมีสถานะเป็นผู้ใช้แรงงานด้วยเงื่อนไขเรื่องอายุ
                    ซึ่งอยู่ในวัยท�างาน กล่าวคือ ช่วงอายุ ๑๘ – ๕๕ หรือ ๖๐ ปี จึงเกิดเป็น

                    ข้อค�าถามว่ากฎหมายในลักษณะดังกล่าวเป็นกฎหมายแรงงานหรือไม่
                    ตัวอย่างเช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน

                    ซึ่งเป็นกฎหมายที่ก�าหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐในการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะ
                    ขึ้นท�าหน้าที่ช่วยหางานให้กับประชากรวัยท�างาน ตลอดจนการยอมรับให้
                    เอกชนประกอบกิจการช่วยประชากรวัยท�างานหางานโดยอาจเรียกเก็บ

                    ค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายก�าหนด ซึ่งเนื้อหาของกฎหมายส่วนนี้จะไม่ได้
                    กล่าวถึงนิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาจ้างแรงงานไว้ แต่จะเป็นการกล่าวถึง

                    นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก่อนที่จะเกิดเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งอาจ
                    มองว่าเนื้อหาแห่งบทกฎหมายนั้นไม่ครบลักษณะของกฎหมายแรงงาน
                    ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ใช้แรงงานโดยตรง แต่ก็อาจมองได้ในอีกแง่มุมหนึ่งว่า

                    กฎหมายในลักษณะเช่นนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงาน
                    ในลักษณะของประชากรวัยแรงงานมิใช่ตัวลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน

                    ก็มีความเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการแรงงานระคนอยู่ด้วยเช่นกัน

                             ในท�านองเดียวกันกฎหมายที่เกี่ยวกับการท�างานของคนต่างด้าว

                    มักจะก�าหนดคุณสมบัติ ลักษณะของงานต้องห้ามต่างด้าวท�าไว้ ซึ่งโดยสภาพ
                    กฎหมายกลุ่มนี้จึงไม่ได้บัญญัตินิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างไว้
                    แต่เป็นการก�าหนดกรอบของประชากรวัยแรงงานที่เป็นต่างด้าวหรือไม่มี

                    สัญชาติของรัฐซึ่งตนจะเข้าไปท�าการงาน ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ต่างให้การ
                    ยอมรับบทกฎหมายที่มีลักษณะในท�านองนี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย

                    แรงงาน อันท�าให้มองได้ว่ากฎหมายแรงงานมิจ�าเป็นต้องเป็นบทกฎหมาย







         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   39                                     13/2/2562   16:24:08
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45