Page 274 - kpi20761
P. 274
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 273
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “เคยเห็นนายกสมาคมนายจ้างบ่นอยู่ว่ายื่นเหมือน
ยื่นภาษีเลย”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “จริงๆ แล้วออกแบบให้ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
หัวข้อก็ง่ายๆ”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วก็มีประเด็นเรื่องแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างไรบ้าง”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “พรก. ที่โดนตีกลับไปเพราะโทษมันสูง เพราะต้องการ
เอาใจ EU และมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์ ดังนั้น โทษจึง
ต้องแรง เมื่อออกเป็นพรก. มันไม่มีการกลั่นกรอง ส่วนใหญ่ที่โวยวาย
ก็คือพวกนายทุนก็เลยออกมาตรา ๔๔ ไม่บังคับใช้บางส่วน ทีนี้เวลาท�า
เอกสารมันบากเพราะต้องมีการพิสูจน์ซึ่งจะเกี่ยวกับกระทรวงมหาดไทย
และประเทศต้นทางอีกว่าจะพิสูจน์อย่างไร เป็นปัญหาที่ค้างคา การ
ลักลอบมันก็มีอยู่”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “รวมๆ แล้ว คือ ปัญหาในทางปฏิบัติ เพราะกฎหมาย
เราเองก็ไม่เคยแยกต่างด้าว ส่วนต่างด้าวเองก็ไม่อยากเรียกร้องอะไร
แต่ข่าวที่ออกไปมันต่างกัน”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “มันก็มีบางส่วนแต่มันก็กระทบต่อภาพรวมของประเทศ
แล้วในเรื่องการน�าเข้ามามันง่าย เพราะว่าเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนรู้เห็นเป็นใจ
พอเข้ามาก็จะมาอยู่กับนายจ้างที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง และในช่วงหลังมีโทรศัพท์
จึงง่ายต่อการร้องเรียน หรือออกสื่อเป็นข่าว อย่างกรณีโรงงานเลี้ยงไก่
ในโรงงาน ซึ่งอาจจะมีการละเมิดกฎหมายแรงงานส่วนหนึ่ง แต่เวลาข่าว
ที่ออกไปกลายเป็นเรื่องการบังคับแรงงาน มันก็ก่อให้เกิดผลเสีย”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “ล่าสุดเราได้ให้สัตยาบันต่อ C๑๑๑ อันนี้เราต้อง
แก้ไขเยอะหรือไม่”
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 273 13/2/2562 16:37:51