Page 269 - kpi20761
P. 269
268
๕๕ แล้วขอออก เงินที่ได้ก็จะไม่เท่าไหร่แล้ว ประมาณ ๓-๔ แสน ซึ่งมัน
เลี้ยงตัวเองตั้งแต่อายุ ๕๕ ปี จนคาดว่าจะตายไม่ได้ มันต้องใช้ประมาณ
๖-๙ ล้าน แล้วจะท�ายังไงถึงจะมีระบบการออมเหมือนราชการ นี่เป็น
โจทย์ใหญ่ของการส่งเสริมการออมในวัยท�างาน อัตราใดที่เหมาะสม
อย่างทุกวันนี้ถ้าวิเคราะห์กัน ชาวบ้านที่เป็นคนธรรมดาก็จะไปประมาณ
๓-๔ แสนบาท ทีนี้เมื่อเป็นลูกจ้างเอกชนจะท�าอย่างไร มันก็ไปเพิ่มกฎหมาย
คุ้มครองแรงงานค่าชดเชย ๔๐๐ วัน ซึ่งตอนนี้กฤษฎีกาตรวจเสร็จแล้ว
และก�าลังจะเข้าพิจารณา อาจจะเสร็จวันแรงงานปีหน้า เพราะกฎหมาย
คุ้มครองแรงงานใช้บังคับทั่วไป เว้นเฉพาะกิจการที่ไม่แสวงหาก�าไรที่มี
กฎกระทรวงฉบับแรกที่ยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นี่ก็เป็นผลให้มา
ผลักดันแก้กฎหมายตัวนี้เพื่อให้เป็นอัตราสูงสุดได้ ๔๐๐ วัน ประมาณ
๑๓ เดือน แต่ ๔๐๐ วันนั้นกว่าจะได้คือ ๖๐ ถ้าเกษียณอายุคือ ๖๐ ปี
แต่บางที่เขียน ๕๕ ปี แต่ต้องท�างาน ๒๐ ปีขึ้นไปถึงจะได้
ทีนี้มันก็ไปมีผลต่อระบบการจ้าง ไปกดค่าจ้าง เพราะว่าค่าชดเชยไป
ค�านวณจากค่าจ้าง มันก็จะไปออกสวัสดิการต่างๆ ดังนั้นค่าจ้างในภาค
เอกชนของกลุ่มที่ไม่มีมาตรการต่อรองก็จะถูกกด จะรอขึ้นต่อเมื่อเป็น
กรณีที่สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้อง ซึ่งสหภาพแรงงานบ้านเราเนี่ย
มีไม่ถึง ๑๐% ของสถานประกอบการ ฉะนั้น แรงกดดันที่จะไปเจราจาต่อรอง
เพื่อให้ค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่�าของลูกจ้างไทยจึงไม่มี ขณะเดียวกัน
จะเป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่ไม่ชอบการต่อรอง ดังนั้นจะสังเกตว่า
การขึ้นค่าจ้างนั้นลูกจ้างจะมากดดันภาครัฐแทน และเมื่อภาครัฐให้ขึ้น
เพดานที่เป็นค่าจ้างขั้นต่�ามันก็จะถูกดันขึ้นเช่นกัน เพราะฉะนั้นนายจ้าง
จึงพยายามกดเนื่องจากมันมีค่าชดเชยที่ต้องจ่ายอยู่แล้วถ้าเกษียณอายุ
ยิ่งกฎหมายล่าสุดที่ออกมาที่ก�าหนดว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้าง
ก็จะต้องได้ค่าชดเชยด้วยอัตโนมัติ จะเห็นว่าทุกอย่างเป็นวงจรเกี่ยวพัน
กันหมดเลย
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 268 13/2/2562 16:37:50