Page 267 - kpi20761
P. 267
266
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ส่วนการพัฒนาฝีมือแรงงาน เห็นว่าไม่ค่อยมีปัญหา
เพราะเป็นการส่งเสริมมากกว่า ถ้าจะมีปัญหาก็คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ในตอนเกิดใหม่ๆ จะได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่ทราบว่า
ในต่างจังหวัดนั้นจะสามารถหายอดหาเป้าคนที่จะเข้าฝึกอบรมได้หรือไม่
แต่ในแง่ของโครงสร้างกฎหมายพัฒนาฝีมือ ค่อนข้างดี แต่ก็จะบ่นนิดหน่อย
ก็คือ ไปบังคับให้อบรม ถ้าไม่เข้าอบรมต้องส่งเงินเข้ากองทุน คล้ายๆ กับ
กฎหมายคนพิการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นต้นทุน แทนที่เราจะวางโครงสร้างว่า
ผมมีการบริการการพัฒนาฝีมือแรงงาน กลุ่มต่างๆ ซึ่งถ้าเขาสนใจเข้ามา
พัฒนาและผ่านการอบรมก็จะได้ใบรับรอง ซึ่งมันจะมาอิงกับค่าแรงขั้นต่�า
ซึ่งตอนนี้มีกว่า ๓๐ สาขา ถ้าลูกจ้างไปพัฒนาฝีมือตนเองแล้วได้
ใบรับรองมา เช่น ช่างยนต์ได้ระดับสอง มีค่าแรงไม่ต่�ากว่า ๖๐๐ บาท
ต่อวัน เมื่อลูกจ้างไปแสดงแก่นายจ้าง นายจ้างก็จะต้องจ่ายค่าจ้าง
อย่างน้อยไม่น้อยกว่า ๖๐๐ บาทต่อวัน ดังนั้น ควรเป็นเรื่องที่แล้วแต่
ความสนใจ”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “อย่างนี้จะแก้ไขปัญหาอย่างไร”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ก็คือเป็นเรื่องของการรับรองสิทธิ แล้วแต่เราจะ
ไม่บังคับนายจ้างให้ต้องส่งลูกจ้างเข้าอบรมเพื่อจะได้รับเงินสูงกว่าค่าแรง
ขั้นต่�า แต่เราให้สิทธิลูกจ้างตามความสนใจ ซึ่งหากลูกจ้างพอใจค่าแรง
๔๐๐ บาทก็สามารถตกลงกับนายจ้างได้ เราก็ไม่ไปแทรกแซง”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “คือเราไม่บังคับตามค่าแรงขั้นต่�าของพัฒนาฝีมือ
แรงงาน อย่างนี้ถ้าลูกจ้างอยากได้ ๔๐๐ บาท สามารถท�าได้หรือไม่”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ได้ แต่ค่าจ้างขั้นต่�าเราบังคับอยู่แล้ว ๓๑๐ บาท แต่
อันนี้คือสิ่งที่มันสูงกว่า กฎหมายรับรองสิทธิของลูกจ้าง แต่ขณะเดียวกัน
ก็ไม่บังคับลูกจ้างว่าต้องไปอบรม ไม่บังคับนายจ้างว่าจะต้องส่งลูกจ้างไป
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 266 13/2/2562 16:37:50