Page 262 - kpi20761
P. 262

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  261


                    บทสัมภาษณ์

                    ผศ.ดร. ศุภศิษฎ์ฯ : “อยากจะทราบว่าทิศทางของกฎหมายไทยในปัจจุบัน

                    หรือในอนาคตจะเน้นไปทางไหน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีแผนปฏิรูป
                    ประเทศที่ก�าหนดเรื่องของผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว ซึ่งเราก็แก้ไขบ้าง

                    ส่วนแล้ว แต่บางส่วนยังไม่ผ่าน และอีกเรื่องคือการพัฒนาฝีมือแรงงาน
                    ซึ่งถ้าจะพิจารณาจริงๆ กฎหมายไทยเองนั้นจะมีหลายเรื่องที่คาราคาซัง
                    ดังนั้นในภาพรวมอยากจะได้ค�าตอบว่าในแผนปฏิรูปเร่งด่วนกับในส่วน

                    ที่เราจะต้องค่อยๆ ท�าในการปรับปรุงในส่วนของข้อกฎหมายและ
                    ในการปฏิบัติ ผอ. ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรงในฐานะผู้ปฏิบัติและ

                    ก็เป็นเจ้าหน้าที่ด้วย มันจะมีหลายๆ เรื่องที่กฎหมายไทยไม่อาจจะแก้ไข
                    ก็อยากที่จะฟังความเห็นของ ผอ. ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันของกฎหมาย
                    แรงงานไทยอยู่ในลักษณะใด ดีแล้วหรือยัง หรือควรจะปรับปรุงอะไร”


                    นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ถ้าผมมองนะ ในภาพรวมมองว่าดีแล้วในส่วน
                    ของกฎหมายแรงงานไทยที่ค่อนข้างเป็นสากล พอดีประเทศไทยก็เป็น
                    ผู้ร่วมก่อตั้ง ILO การพัฒนากฎหมายมันก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆ

                    ในทุกมิติ เพียงแต่เมื่อลงรายละเอียดแล้ว อย่างเช่น อนุสัญญาที่เรายัง
                    ไม่ได้ให้สัตยาบัน ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ซึ่งเป็นอนุสัญญาหลักที่เรา

                    ถูกกดดันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะทางอเมริกา และEU ทีนี้เราก็มี
                    ความพยายามมาหลายรอบแล้ว เพียงแต่ว่ามันจะมีการเปลี่ยนแปลง
                    ทางการเมืองบ่อย ทีนี้การให้สัตยาบันมันไปผูกกับรัฐสภา ซึ่งในรัฐธรรมนูญ

                    ปัจจุบันการให้สัตยาบันนั้นถือเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องได้รับความ
                    ยินยอมจากรัฐสภา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาบ่อย ในการผลักดันอยาก

                    เช่นการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ มีความพยายาม
                    อย่างมาก แต่ก็ไม่ผ่าน ติดเหตุผลทางการเมืองก่อน









         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   261                                    13/2/2562   16:37:50
   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267