Page 257 - kpi20761
P. 257
256
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “อาจารย์อยากสรุปเพิ่มเติมอะไรเกี่ยวกับการแก้ไข
กฎหมายแรงงาน”
ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “กฎหมายแรงงานแตกแขนงไปเยอะ อย่าง
กฎหมายเรื่องความปลอดภัยซึ่งเดิมก็อยู่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ภายหลังกลับกลายเป็นกฎหมายเทคนิคไป คนที่จะมีความรู้ก็จะต้อง
เป็นคนเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยจริงๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับ
สารต่างๆ ที่ออกโดยกระทรวง กฎหมายเหล่านี้มีความซับซ้อน และยังหา
เจ้าภาพไม่ได้ อย่างกระทรวงสาธารณสุขก็เสนอร่างกฎหมายมาแล้ว คือ
ร่างพรบ. โรคที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพ ซึ่งเสนอมาถึงกฤษฎีกาแล้ว
แต่มองว่าอาจมีความซ้�าซ้อนกันหรือไม่ แต่กระทรวงสาธารณสุขบอกว่า
ทุกคนที่ท�างานสามารถเป็นโรคได้ทั้งนั้น เช่น การนั่งท�างานที่ไม่ถูกท่า
อาจเกิด OFFICE SYNDROME ได้ ดังนั้น โรคจึงไม่มีเฉพาะแต่ในกฎหมาย
เงินทดแทนเท่านั้น จึงน่าจะเป็นเจ้าภาพที่ดีกว่า เพราะมีฝ่ายแพทย์ และ
การวิจัยที่ดีกว่า ซึ่งเรื่องนี้ก็จะไปซ้อนกับกฎหมายในหลายกระทรวง
กฎหมายที่แตกแยกออกไปเช่น กฎหมายรับงานไปท�าที่บ้าน
กฎหมายแรงงานทางทะเล แต่อย่างการขนส่งทางบกก็ยังเป็นกฎกระทรวง
เหมือนเดิมยังไม่มีกฎหมาย
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วเป็นไปได้หรือไม่ที่จะท�าเป็นประมวลกฎหมาย
แรงงาน แล้วอาจารย์เห็นด้วยหรือไม่”
ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “ก็เงียบไป ก็ดีในส่วนหนึ่ง คือ ขจัดการซ้�าซ้อน
มีเจ้าภาพเดียวกัน อย่างเช่น เรื่องเลิกจ้าง ถ้าถูกเลิกจ้างจะไปหา
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก็ได้ หรือพนักงานตรวจแรงงาน ไปฟ้อง
ศาลก็ได้ แล้วก็เงื่อนไขในการเลิกจ้างของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น
บางเรื่องต้องไปขออนุญาตศาล บางเรื่องไปคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 256 13/2/2562 16:37:48