Page 254 - kpi20761
P. 254

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  253

                    วันที่ ๑ ม.ค. ๒๕๖๑ ก็อาจจะต้องใช้อ�านาจตามมาตรา ๔๔ แทน”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “อย่างแรงงานผู้สูงอายุก็จะท�าเพียงส่งเสริมให้มี

                    การจ้างงานมากขึ้นเท่านั้นเอง”

                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “แต่ว่าด้านปฏิรูปกฎหมาย เจ้าภาพอย่าง

                    กระทรวงแรงงานเขาก็เฉยๆ”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วอย่างทางกฤษฎีกามีอะไรบ้างไหม ที่เป็นการ
                    ให้สวัสดิการเพิ่มมากขึ้นหรือเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับการจ้างงานเพิ่มขึ้น”


                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “กฤษฎีกาไม่มี แต่ว่าในการที่เสนอกฎหมาย
                    ขึ้นมาแต่ละครั้ง เราก็พยายามที่จะดูกันให้มากว่าอะไรที่มันเหมาะสม

                    หรือไม่เหมาะสม โดยเฉพาะนโยบายที่ส�าคัญๆ ของบ้านเมือง ถึงแม้
                    เราจะเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล แต่ก็ไม่เชิงจะตามใจรัฐบาลนัก เพราะว่า
                    ผู้ร่างกฎหมายก็จะเป็นกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ก็จะมีอิทธิพลของ

                    ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงานก็จะมีส่วนของลูกจ้างที่เรียกร้อง
                    รวมถึงดูเรื่องความเห็นอกเห็นใจ ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ”


                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “เร็วๆ นี้ รู้สึกว่าจะเพิ่งแก้กฎหมายพัฒนาฝีมือแรงงาน
                    ไป อันนี้มีอะไรที่น่าเป็นห่วงหรือไม่ ว่ามันตอบโจทย์ของรัฐบาลมากน้อย

                    แค่ไหน หรือสิ่งที่พรบ. พัฒนาฝีมือแรงงานต้องการคือพัฒนาฝีมือแรงงาน
                    ไทยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น”

                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “ก็ดูเป้าหมายว่าดี แต่ว่าการพัฒนาฝีมือ

                    แรงงานไทยมันก็จะต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือและงบประมาณ ซึ่งในการ
                    ของบประมาณครั้งหนึ่งค่อยข้างจะยาก ในเรื่องของตัวกฎหมายไม่ค่อย

                    มีปัญหา อยากได้อะไรก็เป็นไปตามนั้น อย่างเช่นที่ไปลดภาษีก็ได้ผล
                    แต่ว่าไปได้ผลเรื่องการฝึกอบรม แต่ว่ามันก็ไม่ถึงขั้นเป็นการพัฒนาฝีมือ
                    แต่เป็นการอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ เสียมากกว่า”






         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   253                                    13/2/2562   16:37:48
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259