Page 250 - kpi20761
P. 250
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 249
ส�าหรับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือ การแก้ไข
ในครั้งก่อนนั้นจะเป็นการสนองต่อเหตุผลทางการเมือง ในการแก้ไข
เรื่องบทลงโทษการใช้แรงงานเด็ก ก็เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการถูกขึ้นบัญชี
ของไทยที่มีปัญหากับสหภาพยุโรปและอเมริกาเมื่อสร้างความเชื่อถือ
ให้กลับมา โดยการเพิ่มบทลงโทษซึ่งเราก็รู้ว่าการเพิ่มโทษมันก็ไม่แก้
ปัญหานี้ได้ แต่อย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเอาจริงกับการแก้ไข
ปัญหาในเรื่องนี้ และได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาของ ILO ในเรื่องการใช้แรงงาน
เด็กแล้ว ส่วนการแก้ไขครั้งสุดท้ายที่เพิ่งผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาไปนั้น
ก็จะเกี่ยวกับอนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๐ งานที่มีค่าเท่ากัน โดยก�าลังจะแก้ไข
มาตรา ๕๓ เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจาก
ได้รับค�าทักท้วงจาก ILO ว่าประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
ฉบับนี้แล้ว แต่กฎหมายไทยไม่ได้เขียนให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว
อีกประการหนึ่งคือการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เรื่อง
วันลาคลอดที่เดิมก�าหนด ๙๐ วัน ซึ่งตามอนุสัญญา ฉบับที่ ๑๘๓
ก�าหนดให้อย่างน้อยต้องมีวันพักเพื่อการคลอดอย่างน้อย ๑๔ สัปดาห์
หรือ ๙๘ วัน ซึ่งจะต้องแก้ไข และแม้อนุสัญญาเรื่องลาดคลอดจะไม่ใช่
อนุสัญญาหลัก แต่ก็เป็นอนุสัญญาที่ประเทศส่วนใหญ่ให้ความสนใจและ
ปฏิบัติตาม”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วในส่วนของการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา
ฉบับที่ ๑๑๑ เรื่อง การปฏิบัติที่เท่าเทียมจะผลต่อการแก้ไขกฎหมาย
แรงงานในอนาคตหรือไม่”
ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “น่าจะมีผล แล้วก็ก�าลังพยายามในเรื่องนี้
เพราะไทยเองยังมีการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑
มากในหลายเรื่อง ทั้งในวงราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการของเอกชน
โดยในการแก้ไขอาจจะน�าไปใส่ในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เรื่อง
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 249 13/2/2562 16:37:48