Page 248 - kpi20761
P. 248
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 247
บทสัมภาษณ์
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “กฎหมายแรงงานมีแก้ไขหรือไม่ในช่วงนี้”
ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “เริ่มต้นจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปีนี้แก้ไข
ไปแล้ว ๓ ฉบับ ในส่วนฉบับที่ ๔ ได้ผ่าน ครม. ไปเมื่อเดือนสิงหาคม
แล้วกฎหมายก็ได้เข้าสู่คณะกรรมการกฤษฎีกา และได้ตรวจร่างกฎหมาย
เสร็จแล้ว ก�าลังเสนอกลับไป ครม. เพื่อที่จะได้น�าเข้าคณะกรรมาธิการ
ร่างกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป อันที่จริงรัฐบาลได้ผ่าน
ครม. ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๖๐ โดยคาดหวังว่าจะให้เป็นของขวัญ
ปีใหม่ เนื่องจากเป็นการแก้ไขในหลายเรื่องที่เกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิให้แก่
ลูกจ้าง ได้แก่ เรื่องเพิ่มอัตราค่าชดเชย จากเดิมมี ๕ อัตรา เท่ากับค่าจ้าง
อัตราสุดท้าย ๓๐ วัน ๙๐ วัน ๑๘๐ วัน ๒๔๐ วัน และ ๓๐๐ วัน โดย
เพิ่มว่าหากท�างานมาแล้วครบ ๒๐ ปีขึ้นไปก็จะได้รับค่าชดเชยเท่ากับ
ค่าจ้างอัตราสุดท้าย ๔๐๐ วัน
แล้วยังเพิ่มสิทธิเกี่ยวกับ วันลาเพื่อกิจธุระอันจ�าเป็น เดิมไม่มีก�าหนด
ระยะเวลาเอาไว้ ก็ก�าหนดเป็นลาได้อย่างน้อยปีละ ๓ วัน และเดิมไม่ได้
ก�าหนดว่าจะต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ ก็ได้ก�าหนดให้มีการจ่ายค่าจ้างด้วย
เพิ่มสิทธิกรณีที่ ลูกจ้างที่ลาเพื่อคลอดบุตร ให้รวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์
ก่อนคลอดบุตรด้วย อันนี้เป็นสาระส�าคัญ นอกจากนั้นก็มีการเพิ่มสิทธิ
เล็กๆ น้อยๆ อีกเยอะทีเดียว เมื่อรัฐบาลต้องการให้เป็นของขวัญปีใหม่
เพื่อให้เกิดความรวดเร็วก็อาจจะใช้อ�านาจตามมาตรา ๔๔
ทีนี้เรื่องการแก้ไขครั้งหลังที่จะมีการแก้ไขเรื่องค่าชดเชย รัฐบาล
ก็เห็นแก่ลูกจ้าง อัตราค่าชดเชยก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามล�าดับ แต่สิ่งที่รัฐบาล
ยังไม่รู้และจะต้องเจอก็คือ เมื่อไปเพิ่มอัตราค่าชดเชยในพรบ. คุ้มครอง
แรงงาน ที่ใช้บังคับกับกิจการของเอกชนก็จริง แต่ว่าพวกรัฐวิสาหกิจก็จะ
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 247 13/2/2562 16:37:48