Page 249 - kpi20761
P. 249

248


                 ต้องขอเพิ่มอัตราค่าชดเชยในกฎหมายของตัวเองด้วย ซึ่งก็เคยเกิดขึ้น
                 แล้วที่รัฐวิสาหกิจปรับอัตราค่าชดเชยในกฎหมายของตนให้เท่ากับพรบ.

                 คุ้มครองแรงงาน

                      ที่กล่าวมาก็เป็นการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน สิ่งที่เราคาดหวัง

                 คือ การแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานเท่าที่ผ่านมานั้นจะเป็นไปตาม
                 ความต้องการของผู้น�าฝ่ายลูกจ้าง ในขณะเดียวกันในการร่างกฎหมาย
                 แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแรงงานทุกฉบับก็จะมีการตั้งคณะกรรมการไตรภาคี

                 มีผู้แทนฝ่ายนายจ้าง แต่ผู้แทนฝ่ายนายจ้างเหล่านี้ถือเป็นนายจ้างชั้นดี
                 ซึ่งในการประชุมก็มักจะไม่ค้าน หรือผู้แทนนายจ้างที่ไปประชุมก็ไม่ใช่

                 นายจ้างจริงๆ อาจเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลบ้าง ซึ่งพวกนี้คือลูกจ้างจึงมัก
                 เห็นด้วยกับฝ่ายลูกจ้าง นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตจากที่ได้บันทึกมา เช่น
                 การจ่ายค่าชดเชยจาก ๓๐๐ วันเป็น ๔๐๐ วัน ปรากฏว่าผู้แทนฝ่ายนายจ้าง

                 จะไม่คัดค้านอะไรแล้ว มีผู้แทนนายจ้างบางคนยังเสนอจาก ๓๐๐ วัน
                 เป็น ๖๐๐ วัน นี่ก็เป็นข้อสังเกตเท่านั้น”

                 ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “อย่างนี้น่าจะมีผลกระทบหากประกาศใช้ไป เพราะ

                 นายจ้างจะต้องกันเงินส่วนหนึ่งเพื่อมาจ่ายค่าชดเชย”

                 ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “แน่นอน อย่างเช่น การแก้ไขแต่ละครั้งจะดูว่า

                 เป็นการเพิ่มสิทธิให้แก่ลูกจ้าง แต่บางครั้งก็อาจไม่ใช้การเพิ่มสิทธิที่เป็น
                 ผลดีแก่ลูกจ้าง เช่น ถ้าก�าหนดว่าค่าชดเชย ๔๐๐ วัน ซึ่งถือว่าเพิ่มจ�านวน

                 มามาก นายจ้างอาจหาทางไม่จ้างให้ถึง ๒๐ ปี ซึ่งก็จะท�าให้ถูกเลิกจ้าง
                 ตอนอายุมากแล้ว หรืออาจมีผลในทางลบที่ว่า นายจ้างอาจท�าการ
                 เลิกจ้างโดยใช้วิธีที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เช่น หาความผิดให้ลูกจ้างเพื่อ

                 ให้เข้ากับข้อยกเว้นที่นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นอกจากนี้การที่
                 นายจ้างต้องจ่ายค่าต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ต้นทุนแรงงานก็สูงมากขึ้นก็จะ

                 ไปสัมพันธ์กับการที่นายจ้างจะหันไปใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องจักรมากขึ้น





         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   248                                    13/2/2562   16:37:48
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254