Page 251 - kpi20761
P. 251
250
ความเสมอภาคระหว่างชายหญิงอาจต้องแก้ไขให้ขยายกว้างมากขึ้นไปอีก
เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว และจะต้องเพิ่มค�าจ�ากัดความ
เวลาที่จะออกในรูปกฎหมายให้ดี เพราะหากเราสามารถแก้ไขกฎหมาย
ในส่วนของเอกชนได้ รัฐวิสาหกิจก็จะตามมาเอง”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วมีแนวโน้มในการแก้ไขเลยหรือไม่ เพราะรู้สึกว่าจะ
ให้สัตยาบันไปเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ แล้วจะต้องใช้จริงในปี ๒๕๖๑”
ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “อย่างน้อยน่าจะมีสัก ๓-๔ มาตราในกฎหมาย
คุ้มครองแรงงาน หรืออาจออกเป็นพรบ. ใหม่เลย แต่ยังไงก็มีแน่ และอาจ
ใส่เรื่องอื่นๆ เพิ่มเข้าไป เช่น ข้อห้ามท�าการแข่งขันเมื่อพ้นจากต�าแหน่ง
ไปแล้ว ซึ่งแม้จะมีมาตรา ๔๑/๑ อยู่แต่มันก็ยังไม่มีกฎหมายที่เขียนกรอบ
เอาไว้ ผู้พิพากษาก็พยายามหากฎหมายมาตีความเอง เช่น ระยะทาง
ประเภทของอาชีพ ระยะเวลา หรือความเกี่ยวข้องกับงานนั้น ดูว่า
เขาเก่งมาก่อนหรือได้มาหลังจากนายจ้าง ซึ่งในตอนนี้ไม่มีความชัดเจน
ก็หวังว่าอาจจะใส่เข้าไปในการแก้ไขนี้ เพราะถือเป็นการกีดกันในการ
ประกอบอาชีพ”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “ในส่วนของแรงงานสัมพันธ์มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง”
ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “ส่วนแรงงานสัมพันธ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
ผมในฐานะเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ในทุกรัฐบาลจะขอเสนอแก้ไข
กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กฤษฎีกาก็รับมาแก้ไขทุกรัฐบาล รัฐบาลยิ่งลักษณ์
ก็เสนอมาโดยแก้ไขเยอะมาก เช่น เรื่องสัญชาติไทย เรื่องสหภาพ เพื่อ
ให้สอดคล้องกับอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ โดยเราแก้ไขกฎหมายทั้งสอง
ฉบับเลย คือ กฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ ซึ่งทางกฤษฎีกาก็ตรวจร่างเสร็จแล้วก�าลังส่งกลับไป ก็เกิด
การรัฐประหารพอดี เรื่องเลยเงียบไป แต่ก็มีเสียงบอกว่าให้ดูเรื่องนี้ด้วย
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 250 13/2/2562 16:37:48