Page 256 - kpi20761
P. 256

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  255


                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “จะบอกว่าถ้าเป็นใน ๔ เรื่องนั้นเราจะขาด
                    เรื่องฝีมือแรงงาน ก็ยังเรียกร้องกันอยู่ โดยแรงจะต้องพัฒนาในส่วนที่

                    นายจ้างต้องการไม่ใช่คิดเอาเอง จะต้องดูจากตลาดแรงงาน พูดถึงเรื่อง
                    ความพยายามของไทยก็ถือว่าพอใช้ได้”


                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “ส่วนเรื่องการระงับข้อพิพาทแรงงาน ศาลแรงงาน
                    นั้นยังใช้ได้อยู่ใช่หรือไม่”

                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “ก็ยังใช้ได้อยู่ ไม่มีปัญหาอะไร”


                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “จะมีเรื่องของประกันสังคมที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยน
                    ให้คุ้มครองถึงประชากรส่วนใหญ่มากขึ้น”


                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “ก็ต้องปรับเปลี่ยนให้มีการคุ้มครองมากขึ้น
                    แล้วก็ให้ผลประโยชน์มากขึ้น อาจจะต้องพิจารณาเพิ่มอัตราเงินสมทบ

                    และเพดานให้สอดคล้องกับเงินเดือนจริงมากขึ้น”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วรัฐบาลเน้นพัฒนาฝีมือแรงงาน ในขณะเดียวกัน
                    ก็แก้กฎหมายให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาเพื่อตอบโจทย์กับนายจ้าง ประเด็น

                    นี้มันจะขัดกันไหม เพราะโดยปกติแล้วแรงงานต่างด้าวจะเป็นพวกแรงงาน
                    ไร้ฝีมือเป็นส่วนใหญ่”


                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “แก้ปัญหาต่างด้าว รัฐบาลไปมุ่งที่ว่าเราขาดแคลน
                    แรงงาน แต่ขณะเดียวกันปัญหาที่เป็นของเก่าของเราคือ การขาดแคลน
                    แรงงานฝีมือ ดังนั้น เราก็จะต้องพัฒนาแรงงานฝีมือของเราให้ได้เสียก่อน

                    ปัญหาที่มีก็จะน้อยลง เป็นแรงงานที่มีคุณค่ามากขึ้นและได้รับค่าตอบแทน
                    มากขึ้น แต่ก็ไม่ถึงกับค้านกันเท่าไหร่ เป็นคนละเรื่องกัน แล้วก็เป็นการ

                    แก้ไขปัญหาตามความต้องการของตลาดแรงงาน”









         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   255                                    13/2/2562   16:37:48
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261