Page 258 - kpi20761
P. 258

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  257


                    ตัดสิน บางเรื่องไปศาลได้เลยโดยตรง และมาตรฐานก็ไม่เหมือนกัน
                    แล้วก็ค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

                    มันซ้อนกัน ควรจะเป็นก้อนเดียวเท่าไหร่ก็เท่านั้น”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แต่ถ้ารวมกันหมดก็มีข้อเสียใช่ไหม”

                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “ใช่ แต่ถ้าเราเขียนมาตราใดสักมาตราหนึ่ง

                    กวาดเอาไว้ให้หมด แล้วให้ไปที่ใดที่หนึ่งก็จะท�าให้มีมาตรฐานเดียวกัน
                    รวมถึงข้อยกเว้นอันเดียวกัน


                          แล้วสิ่งหนึ่งที่ก�าลังห่วงใยก็คือ แต่ก่อนเวลาเรามีกฎหมายอะไร
                    ออกมา เราจะไม่ให้ใครอยู่ภายใต้บังคับ เราก็จะเขียนเอาไว้ในกฎหมายนั้น

                    แต่พอกฎหมายแรงงานข้อยกเว้นจะไปอยู่ในกฎหมายอื่น เช่น พรบ.
                    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้จุฬาฯ ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
                    เป็นต้น ซึ่งมีแบบนี้เยอะไปหมด ท�าให้ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าข้อยกเว้น

                    มีอะไร ข้อยกเว้นจึงควรอยู่ในกฎหมายฉบับหลัก”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “เท่ากับว่ากฎหมายกลางที่ดีอยู่แล้ว ไม่สามารถ

                    น�าไปใช้ได้จริง จนท�าให้ภาพรวมถูกกระทบ”

                    ศ.(พิเศษ) เกษมสันต์ฯ : “อย่างในกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้น ข้อยกเว้น
                    ในกฎกระทรวงก็มี หรืออยู่ในกฎหมายอื่นๆ ก็ดี รวมๆ แล้วประมาณ

                    ๓๐ กว่าฉบับที่ไปซ่อนอยู่ ซึ่งบางทีไปยกเว้นบางเรื่องเลย เช่น ค่าชดเชย”




















         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   257                                    13/2/2562   16:37:48
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263