Page 263 - kpi20761
P. 263
262
ในแง่ของกฎหมายนั้น เมื่อก่อนนั้นตีความว่าการจะไปให้สัตยาบัน
อะไรนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากสภา ขณะเดียวกันกฎหมาย
เราก็ต้องพร้อม เราก็พยายามพัฒนากฎหมายให้พร้อม แต่พอพัฒนา
ไปก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีก พอเอาออกมาเพื่อจะเสนอใหม่
ก็เปลี่ยนแปลงอีก หลายคนมองว่าไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ในมุมมองของ
ผมเห็นว่าเกี่ยวแน่นอน ในแง่ของกลุ่มผู้มีผลประโยชน์นายจ้าง ลูกจ้าง
ถ้ามันไปมีผลกระทบ ก็แตะไม่ได้ ก็ต้องถอยกลับมา ยกตัวอย่างเร็วๆ นี้
คือ แนวความคิดที่จะขึ้นประกันสังคมในอัตราเพดาน ๑๕,๐๐๐ แตะ
เพียงนิดเดียว นายกต้องหยุดไปก่อน แล้วของขวัญปีใหม่ล่าสุดก็ไปเพิ่ม
สิทธิประโยชน์ซึ่งมันจะต้องไปเอาเงินกองทุนมา ขณะเดียวกันตัวหาร
มันไม่มีการขยาย มันก็มีปัญหาอีก เลยยกตัวอย่างประกันสังคม ซึ่งผู้มีส่วน
ได้เสียจะเกี่ยวข้องกันในการสนับสนุนหรือผลักดันกฎหมายที่จะออกมา
ดังนั้น ในภาพรวมผมมองว่าดีแล้วในแง่ของกฎหมายแรงงานใน
ประเทศไทย เพียงแต่ท�าไมเราไม่ให้อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ ซึ่ง
เป็นอนุสัญญาหลักมีผลบังคับ ทีนี้พวกผมก็พยายามท�าว่าให้มีภาคีวิชาการ
ในการท�าวิจัย สนับสนุน ชี้แนะ และให้ค�าแนะน�า”
ผศ.ดร.ศุภศิษฎ์ฯ : “ที่จริงวิจัยเรื่อง อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘
ก็น่าจะมีอยู่ประมาณหนึ่ง”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “มีชิ้นเดียวเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว ในปี ๒๕๔๕ ไม่มีใครเขียน”
ผศ.ดร.ศุภศิษฎ์ฯ : “ที่จริงเราร่วมกันก็ได้ เนื่องจากมันเป็นการประยุกต์
มันมีแรงงาน แล้วเรื่องภาษี เช่น พวกค่าจ้างขั้นต่�าที่เอามาประยุกต์
แต่ก็อยากได้คนจากกระทรวงด้วย เพราะเป็นคนที่ไปสัมผัสจริงๆ ว่าอะไร
คือข้อดี ข้อเสีย”
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 262 13/2/2562 16:37:50