Page 266 - kpi20761
P. 266
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 265
ให้ศาลใช้”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “อย่างมาตรา ๔๔/๑ เองก็มีปัญหาอยู่ ท�าให้ศาลไทย
ก็งง ที่เป็นเรื่องการห้ามไประกอบอาชีพแข่งขันเมื่อเลิกสัญญาจ้าง
ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่าอยากมีหลักเกณฑ์”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “อีกตัวอย่างหนึ่ง ในการอนุวัติการ Convention ที่จะ
มาปรับปรุงกฎหมาย คือ C๑๘๘ การท�างานภาคประมง ซึ่งเรายังไม่ได้
ให้สัตยาบัน แต่ว่าเราโดน EU จับตาเพราะว่ามันเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
ในการท�างานบนเรือของเรามันไม่มีมาตรฐาน”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “ในการตรวจเราล�าบากหรือไม่ เพราะอาจในโรงงาน
จะตรวจได้ง่าย แต่เมื่อไหร่ที่ออกทะเลแล้วน่าจะล�าบาก”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ตอนนี้ออกมาตรการในพรก. ประมง ๒๕๕๘
ของกรมการประมง แล้วก็ตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO)
เรือทุกล�าต้องมาผ่านและต้องท�าเอกสารต่างๆ โดยเรือที่ต้องผ่านศูนย์
คือ พวกเรือขนาด ๓๐ ตันกรอส แต่เรือเล็กๆ ไม่ต้องผ่าน มันก็มี
ปัญหาอยู่
แต่ตัว C๑๘๘ ถ้าเราจะให้สัตยาบันจริงๆ มันก็จะมีเรือขนาด ๒๔ เมตร
ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน แต่ของเราเรือจะต่อเอง เพื่อเลี่ยงกฎหมาย
เหมือนรถ เช่น กรณีห้องน้�า เรือ ๒๔ เมตรจะต้องมีห้องน้�ากี่ห้อง มีคน
เท่าไหร่มันก็จะมีมาตรฐานก�าหนดไว้”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “ถ้าเราจะให้สัตยาบันกฎ ระเบียบต่างๆ ก็จะต้อง
ถูกแก้ไขเยอะ ซึ่งมันก็จะมีค่าใช้จ่าย ซึ่งการประมงไทยก็ยังไม่สามารถ
ตอบโจทย์ที่จะท�าให้ราคาผลิตภัณฑ์ขึ้นตามด้วย แล้วฉบับอื่นมีปัญหา
อะไรอีกหรือไม่”
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 265 13/2/2562 16:37:50