Page 270 - kpi20761
P. 270
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 269
ส่วนกลุ่มที่มีอ�านาจการต่อรองสูง อย่างกลุ่มนักกฎหมาย อาจารย์ วิศวกร
เป็นต้น ก็จะมีอ�านาจต่อรองอยู่ แต่กลุ่มที่เป็นระดับรากหญ้าจะท�าอย่างไร
จะท�าให้ระบบการออมในช่วงวัยท�างานให้เพียงพอส�าหรับเขาในตอน
เกษียณน่าจะประมาณ ๒-๓ ล้านก�าลังดี นี่คือโจทย์ มันจะเกี่ยวพันกับ
สังคมสูงวัย เพราะถ้าเขาไม่มีรายได้พอเจ็บป่วยรัฐก็จะต้องมารับภาระ
แล้วจะท�าอย่างไรดี”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วเคยมีแนวคิดเรื่องของธนาคารแรงงานบ้าง
หรือไม่”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “มี ในการปฏิรูปรอบแรกเขาก็เสนอมาแต่ธนาคาร
แห่งประเทศไทยไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่ามันมีระบบอะไรที่ไปรองรับอยู่แล้ว
เพราะสุดท้ายแล้วก็คือมันจะต้องบังคับอย่างระบบสหกรณ์ ลูกจ้างต้อง
บังคับออมถึงจะกู้ได้ สุดท้ายลูกจ้างก็จะค้�ากันไปกันมา แล้วมันจะคุ้มทุน
ไหม มันเป็นภารกิจของกระทรวงแรงงานหรือไม่ที่ต้องท�า
ถ้าจะท�าเนี่ย ไปศึกษาดีๆ ทุนประกันสังคมสามารถน�าไปท�าอะไร
ได้เยอะ แต่ติดตรงที่เป็นระบบราชการ ระบบผู้มีส่วนได้เสียก็เหมือนกัน
อย่างบอร์ดประกันสังคมทุกวันนี้โดยมาตรา ๔๔ ตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
ฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งเป็นพวกเดียวกัน การจะเปลี่ยนแปลงอะไรท�าได้ยาก
ในตอนนี้ก�าลังจะออกกฎกระทรวงเพื่อเลือกตั้งโดยตรงบอร์ดประกันสังคม
วิเคราะห์แล้วใช้งบประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านบาท มันคุ้มหรือไม่ วาระ ๒ ปี
ผู้ประกันตนประมาณ ๑๐ ล้านคนต้องมาเลือกโดยตรง เลือกฝ่ายละ ๕ คน
เป็นโจทย์เหมือนกันว่าระบบไตรภาคีนั้นผู้แทนจะออกแบบมาอย่างไร
กลุ่มแรงงานนอกระบบ พวก NGO เสนอมาว่าจะต้องเลือกตั้ง
ผู้แทนกรรมการฝ่ายนายจ้างลูกจ้างให้มาเป็นบอร์ดประกันสังคมโดยตรง
ตอนนี้กฎหมายก็แก้แล้วและก�าลังออกกฎกระทรวงอยู่ วิเคราะห์กันแล้ว
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 269 13/2/2562 16:37:50