Page 275 - kpi20761
P. 275

274


                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “แก้ไม่ค่อยเยอะ กฎหมายเราค่อยข้างที่จะดี”

                ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “อย่างนี้กฎหมายแรงงานเราที่ก�าหนดเรื่องการห้าม

                เลือกปฏิบัติระหว่างชายหญิง ต่อไปจะต้องแก้ไขให้ขยายความไปถึงเรื่อง
                ของเพศ ศาสนา การเมือง เป็นต้นด้วย”


                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “มันจะมีมาตรา ๑๕ มันก็คลุมแล้ว แต่ว่ามิติ
                เรื่องเพศมันไม่มี ผมพยายามตอบไปว่ามันไม่มีปัญหา มันจะมี พรบ.
                ความเสมอภาคระหว่างเพศ เข้ามาดูอยู่”


                ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “มันน่าจะต้องแก้ไขเห็นอาจารย์เกษมสันต์ว่าจะต้อง
                แก้ไข เพราะมันก็เร็วๆ นี้แล้ว”


                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ที่มีอยู่ในกฤษฎีกา คือ มาตรา ๕๓ เรื่องงานที่มีคุณค่า
                เท่ากัน โดยจะเพิ่มค�าลงไป มาจาก C๑๐๐ เรื่องงานที่มีคุณค่าเท่ากันก็ต้อง

                จ่ายเท่ากัน แต่เรื่องนี้เป็นความเสมอระหว่างเพศก็อาจจะต้องแก้ไขกันอีก”

                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “นี่ฉบับที่ ๖ ล่าสุด คือ เกษียณอายุและค่าจ้าง
                รายชั่วโมงของนักเรียนและผู้สูงอายุ มาตรา ๘๗ เพิ่มไปหนึ่งวรรค เพราะ

                ปัจจุบันมันมีมิติแค่เฉพาะ “กิจการ งานหรือสาขาอาชีพประเภทใด
                เพียงใด ในท้องถิ่นใด” แต่ไม่มีกลุ่มก็เลยเขียนเพิ่มค�าว่า “กลุ่ม” ลงไป

                ส่วนการเกษียณอายุก็อยู่ในมาตรา ๑๑๘/๑”

                ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “ฉบับ ๖ นี่มีแก้ไขประเด็นอะไรอีกหรือไม่”


                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “มีมาตรา ๑๐๘ ข้อบังคับเกี่ยวกับการท�างานด้วย
                เป็น ๓ ประเด็นหลักๆ ส่วนฉบับที่ ๗ อยู่ที่กฤษฎีกาตรวจเสร็จแล้วและ
                รอเข้าสภา ก็คือค่าชดเชย ๔๐๐ วัน”


                ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วในประเด็นอื่นๆ ผอ. อยากแนะน�าอะไรในส่วน
                ของการพัฒนากฎหมายของเรา”





         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   274                                    13/2/2562   16:37:51
   270   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280