Page 273 - kpi20761
P. 273

272


                ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วจะให้เป็นพวกสิทธิประโยชน์กับนายจ้าง เช่น ภาษี”

                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “อันนี้มันผู้ประกอบการจะยื่นข้อเสนอมา แล้วเมื่อ

                ยื่นมาต้องดูว่ากระทรวงการคลังจะยอมรับหรือไม่ อย่างกรณีของการ
                ฝึกอบบรมกระทรวงการคลังก็ยอมให้”

                ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วอย่างนี้ในมุมมองของกระทรวงการคลัง

                ถ้ากระทรวงแรงงานยอมรับจะถือว่าเป็นเรื่องดีหรือไม่”

                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “เป็นเรื่องดี ผู้ประกอบการก็ชอบเพราะได้ประโยชน์

                อีกกรณีคือกฎหมายการส่งเสริมการมีงานท�า ก็ไม่แน่ใจว่ามีความจ�าเป็น
                จะต้องเป็นกฎหมายหรือไม่ แนวความคิดที่จะบังคับให้ผู้ประกอบการ

                ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องอัพเดตข้อมูลความต้องการแรงงาน
                ทุกเดือน กรณีอย่างนี้จ�าเป็นต้องบังคับหรือไม่ ถ้าไม่ท�าก็จะมีโทษ คือเป็น
                แนวความคิดที่ดี แต่ถ้าไม่ท�าตามจะมีโทษ ปัญหาคือว่าเมื่อเขียนกฎหมาย

                ไว้แต่เวลาไปบังคับใช้แล้วไม่ท�าตามบ้านเราก็ก�าหนดเป็นโทษทางอาญา
                โทษปรับทางปกครอง เปรียบเทียบปรับ เช่น อย่างร้านอาหาร คุณจะต้อง

                รายงานตลอดว่าตอนนี้มีลูกจ้างกี่คน ลาออกไปเท่าไหร่ แล้วคุณสมบัติ
                ของลูกจ้างที่จะรับเข้าท�างานเป็นอย่างไร จะต้องรายงานประจ�าปีหรือ
                รายงานต่อเดือนเพื่อเป็นข้อมูลมาเพื่อใช้บริหาร แล้วจะโยงกับกระทรวง

                ศึกษา มหาวิทยาลัยเพื่อน�าไปผลิตทรัพยากรบุคคลต่อไปอ นายจ้าง
                จะต้องมีสมุดรายงานคนเข้างานออกงานอะไรยังไง”


                ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “อย่างการที่นายจ้างยื่นกฎ ระเบียบ ข้อบังคับในการ
                ท�างานทุกๆ ปี และถ้าไม่ยื่นก็จะมีค่าปรับ กรณีนี้ใช้งานได้จริงหรือไม่”

                นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่จะออกไปตรวจมีน้อย ก็เลย

                ก�าหนดให้ยื่นเหมือนภาษี มันก็ถือว่าใช้ได้อยู่เพียงแต่ว่ามันมีโทษปรับ”








         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   272                                    13/2/2562   16:37:51
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278