Page 277 - kpi20761
P. 277
276
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วถ้ารวมประกันสังคมกับกองทุนเงินทดแทน
ผอ. มองว่าอย่างไร อย่างฝรั่งเศสเองก็รวมแต่เวลาพิจารณาจ่ายเขาจะ
แยกกัน การรวมจะท�าให้นายจ้างรู้ต้นทุนในการจัดเก็บได้ง่ายขึ้น ส่วน
ตัวลูกจ้างเองก็ใช้บัตรใบเดียวไปรับเงินไม่ต้องไปดูว่าจะได้เงินจากอะไร
เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะไปบริหารจัดการเอง”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “มันคนละอย่างกัน กองทุนทดแทนจริงๆ มันก็อยู่ใน
ประกันสังคม แต่มันคนละบอร์ดกัน แต่ว่าประธานคนเดียวกัน แต่จริงๆ
มันเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายตรงนี้ ถ้าดูนะ อันนี้กรมสวัดิการฯ บริหาร
เงินอยู่ที่ประกันสังคม ทีนี้มันจะมีวงจรของมัน คือ บังคับใช้กฎหมาย ฟนฟู
เยียวยา องค์การมหาชน อันนี้ของกองทุนทดแทน อันนี้ของประกันสังคม
อันนี้กรมสวัสดิการฯ คือบังคับใช้กฎหมาย เป็นวงจร ทีนี้มันก็กระทรวง
แรงงานเดียวกัน การบังคับใช้กฎหมายอันนี้มันก็มีกองทุนอีก ที่จริงมัน
ต้องรวมกัน กรมสวัดิการฯ พยายามดึงมาอยู่แต่เขาก็ไม่ให้ ส่วนองค์การ
มหาชนที่มีนั้นก็ไม่มีประสิทธิภาพก�าลังจะโดนพิจารณายุบ มันมีประเด็น
แรงงานนิดหน่อยเวลาไปคุยกับพวกองค์การมหาชนนั้น พวกนี้เขาจะมี
พนักงานเป็นของเขาตามพรบ. องค์การมหาชน ซึ่งพรบ. ดังกล่าวมันจะ
ยกเว้นพรบ. ประกันสังคม สมัยปี ๒๕๔๒ กองทุนประกันสังคมมันขาด
ความน่าเชื่อถือ เขาก็เลยก�าหนดให้พรบ. องค์การมหาชนให้ไม่ต้องอยู่ใน
พรบ. เงินทดแทนหรือพรบ. เงินประกันสังคม แต่ปัจจุบันมีแต่คนอย่าง
เข้ากองทุนประกันสังคม พอเขาเขียนพรบ. องค์การมหาชนแบบนี้สิทธิ
ประโยชน์ต่างๆ มันก็ไปเข้าที่กองทุนส�ารองเลี้ยงชีพ ซึ่งก็ได้แค่เรื่องของ
การออม แต่การรักษาพยาบาลก็จะต้องไปซื้อประกัน แทนที่เงินจะเข้าไป
ที่กองทุนประกันสังคมก็กลับไปอยู่ที่บริษัทประกันหมด ก็คิดว่าควรแก้
ให้กฎหมายองค์การมหาชนไปอยู่ภายใต้กฎหมายประกันสังคม
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 276 13/2/2562 16:37:51