Page 272 - kpi20761
P. 272
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 271
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วผู้สูงอายุ เราคงช่วยอะไรไม่ได้มากว่าแนวทาง
การส่งเสริมใช่หรือไม่”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “การส่งเสริมที่ออกไปส�าหรับผู้สูงอายุในกฎหมาย
คุ้มครองแรงงานก็ออกมาแล้วส่วนหนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าจะครอบคลุมหรือไม่
แต่ก็เป็นแนวความคิดที่ดี คือ เราออกแบบกฎหมายให้คณะกรรมการ
ค่าจ้างสามารถจะจ้างแรงงานผู้สูงอายุเป็นรายชั่วโมงได้ ส่วนอัตราเท่าไหร่
เดี๋ยวมาดูกัน เพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ปัจจุบันนั้นระบบของเรา
คือ ค่าจ้างขั้นต่�าบังคับ ไม่ว่าคุณจะท�างานกี่ชั่วโมงคุณก็ต้องจ่าย ๓๑๐ บาท
ต่อวัน ไม่ว่ากิจการประเภทไหน แต่เราจะออกมายกเว้นให้คณะกรรมการ
ลูกจ้างสามารถก�าหนดค่าจ้างรายชั่วโมงส�าหรับแรงงานผู้สูงอายุ ถ้าออกมา
ก็จะเป็นผลดี ในส่วนนี้เราก็อยากจะได้ตัวอย่างของต่างประเทศว่าในแง่
ของกฎหมายมันเหมาะสมหรือไม่ทีนี้เมื่อออกมาอย่างนี้มันก็จะเหมือนกับ
เรื่องพัฒนาฝีมือแรงงานในเชิงส่งเสริม ส�าหรับผู้ประกอบการ กฎหมาย
ออกมาแล้ว แต่ผู้ประกอบการจะจ้างแรงงานเหล่านี้หรือเปล่าอันนี้คือ
ปัญหา ต้องไปรณรงค์ส่งเสริมต่อ ต้องดูว่าผู้ประกอบการมีทัศนคติต่อ
ผู้สูงอายุอย่างไรและผู้สูงอายุของบ้านเรานั้นเป็นอย่างไร บางคนมีข้อเสนอ
ว่าน่าจะออกกฎกระทรวงมาคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ ที่จริงไม่มีความ
จ�าเป็นเลย เพราะบ้านเราเป็นระบบสมัครใจ ต่างจากกรณีของผู้พิการ
ส�าหรับผู้สูงอายุเห็นว่าคงจะได้เพียงเท่านี้แหละ เพราะถ้าผู้สูงอายุมีเงิน
ก็ไม่อยากท�างาน ดังนั้น จะควรหาทางท�าอย่างไรให้เขามีเงินออมอย่าง
เพียงพอ แต่ถ้าจะท�างานก็ท�าในฐานะผู้ประกอบการไม่ใช่ฐานะลูกจ้าง
หรือถ้าเป็นฐานะลูกจ้างก็อยู่ที่ระบบว่ามันเอื้อต่อเขาหรือไม่ เช่น กฎหมาย
ที่ก�าลังจะออกเรื่องชั่วโมงท�างานของแรงงานผู้สูงอายุ ถ้าก�าหนดให้
๗๐ บาทต่อชั่วโมงให้ท�าในร้านอาหาร มันก็จะขั้นอยู่กับทัศนคติของ
ผู้ประกอบการจะยอมรัยการจ้างงานของแรงงานกลุ่มนี้หรือไม่”
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 271 13/2/2562 16:37:50