Page 276 - kpi20761
P. 276

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  275


                    นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ตรงนี่ข้อ ๑๑ ผมเขียนอยู่ ใครจะมาชี้ว่ากฎหมายของ
                    เรานั้นคุมอยู่แล้วหรือเราจะต้องแก้ตรงไหน เพราะทางทีไปเชื่อ NGO บ้าง

                    หรือ ILO บ้าง ถ้าได้คนกลางที่ชี้ อย่างเช่น ภาควิชาการ”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แสดงว่าส่วนใหญ่ขาดเรื่องแนวปฏิบัติ คือ เรามี

                    กฎหมายกรอบตาม ILO แต่เวลาที่ ILO มาตรวจก็จะตรวจภาคปฏิบัติ
                    ของเราด้วย หรือบางทีเราก็ไม่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร”

                    นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “อย่างผมพูดว่ากฎหมายมันสอดคล้อง แต่เขาไม่เชื่อ

                    ผม ต้องให้คนอย่างอาจารย์ที่เป็นคนกลางถึงจะเชื่อ”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วส่วนใหญ่ใคร report ไปที่ ILO”


                    นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “กระทรวงแรงงาน report แต่ว่ามันต้องอาศัยภาคี
                    นายจ้าง ลูกจ้าง แล้วก็ภาควิชาการ”

                    ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “แล้วเวลามาตรวจ เขาไปถามความเห็นจากใคร”


                    นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “อย่างตอน EU เขาถามที่ศูนย์เลย อย่างเช่น ไปท�า
                    การสัมภาษณ์ลูกจ้าง เขาก็จะมีเทคนิค ไม่ไปถามตรงต่อหน้านายจ้าง

                    เพราะลูกจ้างจะถูกแรงกดดันท�าให้ตอบตามความเป็นจริงไม่ได้ หรือไปดู
                    มาตรฐานเรือแล้วมาตรฐานมันไม่ผ่าน ก็ต้องห้ามเรือประมงออก เลย

                    ต้องใช้ค�าสั่งมาตรา ๔๔”

                    นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “อย่างข้อเสนอปฏิรูปรอบแรก เรื่องข้อมูลแรงงาน
                    มันจะต้องใช้งบประมาณหลายพันล้าน รัฐบาลไม่เอาก็จบ แล้วก็ธนาคาร

                    แรงงานก็มีการเสนอมาแต่ก็เงียบไปเพราะธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ยอม
                    เพราะสุดท้ายมันก็จะไปแข่งกับระบบของธนาคารไทยพาณิชย์ ก็เหมือน

                    ไปแทรกแซงกลไกที่มันท�างานได้อยู่ แล้วก็มันมีระบบสหกรณ์และระบบ
                    ประกันสังคม เราน่าจะท�าระบบประกันสังคมให้เข้มแข็ง”






         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   275                                    13/2/2562   16:37:51
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281