Page 264 - kpi20761
P. 264
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 263
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ผมจะชี้เป้าให้ ตั้งโจทย์ให้ อาจารย์ก็ไปเขียนมา
ยกตัวอย่าง กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ที่ร่างใหม่นั้น กฎหมาย
เก่าเขียนว่าห้ามนัดหยุดงาน เป็นข้อห้ามเลย แต่ว่าร่างใหม่เราให้สิทธิ
ในการนัดหยุดงานเพียงแต่ว่าต้องมีเงื่อนไข เงื่อนไขหนึ่ง คือ ก่อนจะ
นัดหยุดงานจะต้องท�าบริการพื้นฐานไม่ให้หยุด คือ มีแผนการให้บริการ
พื้นฐาน ผมก็อยากได้ตัวอย่างจากต่างประเทศ เราต้องอาศัยจากตัวอย่าง
ของต่างประเทศ”
ผศ.ดร.ศุภศิษฏ์ฯ : “ที่รถไฟเขาให้ ๓ ใน ๑๐ ห้ามขาด ห้ามเกิน ห้ามต่�า
กว่านี้ ซึ่งมันจะมีอัตราส่วน หากปิดไม่รุนแรงก็จะเป็น ๗ ใน ๑๐ ก่อน
แล้วก็ ๕ ใน ๑๐ และ ๓ ใน ๑๐ คือ ขั้นรุนแรงแล้ว”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “อย่างในแรงงานรัฐวิสาหกิจผมก็อยากจะท�าเรื่องนี้
เลย ก็อยากท�าวิจัย”
อ. ศุภศิษฎ์ : “เรื่องนี้จริงๆ ผมว่าส�าคัญ แต่ผมไม่แตะเพราะคิดว่า
มีคนท�าเรื่องนี้เยอะแล้ว”
นายณรงค์ฤทธิ์ฯ : “ไม่มีๆ ก็มีอาจารย์นันทวัฒน์ ที่เขียนแตะไว้
อย่างฝรั่งเศสมันเป็นกฎหมายมหาชน แต่อย่างบ้านเรามันกึ่งกลางบางที
ไปอยู่หมวดกฎหมายธุรกิจในปริญญาโทบ้าง
ในภาพรวม ถ้าเป็นตัวที่ ๑ ในค�าถาม อย่างกฎหมายของกรม
ผมจะมี ๖ ตัว เยอะที่สุดในกระทรวงแรงงานที่ต้องบริหารกฎหมาย
อย่าง MLC ที่ออกไปก็ออกอย่างเร่งๆ คือ ข้อมูลทางวิชาการก็ไม่ค่อยมี
แต่แปลมาแล้วก็มายกร่าง เราก็ยังขาดองค์ความรู้ อย่างเช่น สิงคโปร์
จะร่างอะไรที่สั้นๆ แล้วเขียนโยงไปที่ Convention ซึ่งผมร่างมา ๑๐๐ กว่า
มาตรา แต่มันก็ออกไปแล้ว และก็ได้รับการยอมรับ แต่ก็มีปัญหาอยู่
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 263 13/2/2562 16:37:50