Page 201 - kpi20761
P. 201
200
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐจึงสามารถก�าหนดมาตรการ
๒๖๘
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการเพื่อตอบสนองหลัก
ความเสมอภาคดังกล่าว ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวถูกก�าหนดอย่างเป็น
รูปธรรมไว้ในพระราชบัญญัติการฟนฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป มาตรการต่างๆ ที่ถูกก�าหนดไว้
ในพระราชบัญญัติดังกล่าวเริ่มมีความล้าสมัย ไม่ทันต่อสถานการณ์ จึงมีการ
ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๐
ขึ้นมาแทนพระราชบัญญัติการฟนฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. ๒๕๓๔
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ.๒๕๕๐ ถูกบังคับใช้เรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๕๖ จึงได้มีการแก้ไข
เพิ่มเติมมาตรการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้มีความ
เหมาะสมมากยิ่งขึ้นดังปรากฏตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
คุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖
๒๖๘ มาตรา ๒๗ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับ
ความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่าง
ในเรื่องถิ่นก�าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ
สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา
อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ
เหตุอื่นใด จะกระท�ามิได้
มาตรการที่รัฐก�าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถ
ใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออ�านวย
ความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่า
เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
บุคคลผู้เป็นทหาร ต�ารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงาน
หรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป
เว้นแต่ที่จ�ากัดไว้ในกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย
หรือจริยธรรม
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 200 13/2/2562 16:37:44