Page 198 - kpi20761
P. 198
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 197
๔.๑.๑.๑ สถานการณ์แรงงานภายใต้สังคมเกษตรกรรม
แม้ประเทศไทยจะเป็นสังคมเกษตรกรรม แต่เมื่อพิจารณาสถิติ
ทางด้านแรงงานแล้วจะพบว่าแรงงานภาคเกษตรกรรมมีจ�านวนลดน้อยลง
เรื่อยๆ จากปี พ.ศ.๒๕๕๓ แรงงานภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนอยู่ที่
ร้อยละ ๖๓.๓ ของแรงงานทั้งหมด แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ แรงงานภาค
เกษตรกรรมกลับมีสัดส่วนที่ลดลงเหลือร้อยละ ๔๒.๑ นอกจากนี้
เมื่อพิจารณาละเอียดลงไปในสถิติของแรงงานภาคเกษตรกรรมแล้ว
จะพบว่าแรงงานภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป
ในขณะที่จ�านวนแรงงานภาคเกษตรกรรมที่มีอายุ ๑๕-๒๔ ปีกลับมีจ�านวน
น้อยลงไปเรื่อยๆ สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยก�าลังประสบ
ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรม ๒๖๗
ปัญหาดังกล่าวมักมีสาเหตุมาจากทัศนคติของแรงงานที่เห็นว่า
เกษตรกรรมเป็นงานที่หนักและขาดความแน่นอนท�าให้แรงงานที่มีอายุน้อย
ย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อเป็นแรงงานในภาคอุตสาหกรรม หรือ
ภาคบริการแทน ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรกรรมดังกล่าว
ย่อมท�าให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรย่อมต้องแก้ไขปัญหา
โดยการจ้างแรงงานต่างด้าวและหันไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน
๒๖๗ กรวิทย์ ตันศรี, “แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย [ออนไลน์],
๑ ธ.ค. ๒๕๖๐. แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/NorthEastern/
DocLib_Research/04-Labor%20with%20Agri%20Changing.pdf.
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 197 13/2/2562 16:37:44