Page 199 - kpi20761
P. 199
198
๔.๑.๑.๒ ผลกระทบของสังคมเกษตรกรรมที่มีต่อการ
พัฒนากฎหมายแรงงานไทย
รากฐานทางสังคมของประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม
แต่ในปัจจุบันการท�างานในภาคเอกษตรกรรมถูกมองว่าได้รับรายได้น้อย
และท�างานหนักซึ่งส่งผลให้แรงงานในภาคเกษตรกรรมก�าลังอยู่ในภาวะ
ขาดแคลนจนมีความจ�าเป็นต้องพึงพาแรงงานต่างด้าว การพัฒนากฎหมาย
แรงงานประการหนึ่งที่จ�าต้องให้ความส�าคัญนั่นคือการส่งเสริมหรือกระตุ้น
การท�างานในภาคเกษตรกรรมให้มากขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการย้าย
ถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่เมือง อีกทั้งยังเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการพึ่งพา
แรงงานต่างด้าวอีกด้วย
๔.๑.๒ ความไม่แน่นอนทางการเมือง
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาทางการเมือง
มาอย่างยาวนานทั้งปัญหาการชุมนุมของกลุ่มทางการเมืองต่างๆ และ
การรัฐประหารซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการผันเปลี่ยนหมุนเวียนของรัฐบาล
ชุดต่างๆ พร้อมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านแรงงานของรัฐบาล
แต่ละชุด โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับรัฐบาล
ที่มาจากการรัฐประหารย่อมมีนโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานที่สวนทางกัน
ความไม่แน่นอนทางการเมืองจึงเป็นปัญหาที่ท�าให้การพัฒนากฎหมาย
แรงงานย่อมขาดความเป็นเอกภาพและความต่อเนื่อง
ผลกระทบของความไม่แน่นอนทางการเมืองมีตัวอย่างเช่น
การจัดท�าประมวลกฎหมายแรงงานซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลหนึ่ง
แต่รัฐบาลต่อมากลับยกเลิกแนวความคิดดังกล่าวลง เป็นต้น
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 198 13/2/2562 16:37:44