Page 197 - kpi20761
P. 197
196
และเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากมาตรฐานสากลด้านแรงงาน
อาจมิได้ใช้สูตรส�าเร็จตายตัวแต่การพัฒนาระบบแรงงานมีความจ�าเป็น
ต้องประยุกต์ให้เข้ากับสังคมนั้นๆ ด้วย เพื่อให้ตอบโจทย์ที่เกิดขึ้นภายใน
สังคมนั้นได้อย่างแท้จริง
๔.๑.๑ สังคมเกษตรกรรมกับแรงงานไทย
เกษตรกรรมเป็นค�าที่ให้ความหมายกว้างขวางมิได้มี
ความหมายเฉพาะการท�าไร่ ท�านา แต่ยังหมายความรวมไปถึงการกสิกรรม
การปศุสัตว์ การประมง การป่าไม้ และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่
๒๖๔
อดีตจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยเป็นสังคมที่มีรากฐานมาจากเกษตรกรรม
และประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพเกษตรกร จนมี
ค�ากล่าวที่ได้ยินกันอย่างแพร่หลายว่า “สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม”
ค�ากล่าวนี้แสดงออกให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านประเพณีต่างๆ อาทิ
ประเพณีวันพืชมงคล ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น สังคมไทย
๒๖๕
จึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของเกษตรกรรมอย่างเข้มข้น
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในแง่เศรษฐศาสตร์จะพบว่า
เกษตรกรรมเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจไทยเนื่องจากผลิตภัณฑ์ทาง
การเกษตรเป็นส่วนที่สร้างรายได้ สร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) และความสุขมวลรวม
ภายในประเทศอีกด้วย ๒๖๖
๒๖๔ สมจิต โยธะคง, สังคมไทยกับการบริหารส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร หน่วยที่ ๑
เกษตรกรรมกับสังคมไทย (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : กรุงเทพ) หน้า ๑-๑๐.
๒๖๕ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑-๖๗ – ๑-๖๙.
๒๖๖ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑-๗๓ – ๑-๗๔.
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 196 13/2/2562 16:37:44