Page 188 - kpi20761
P. 188
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 187
๓.๓ การบริหารจัดการแรงงาน
นอกจากการศึกษาความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อน�ามา
เป็นข้อมูลในการก�าหนดทิศทางการบริหารงานการศึกษาและการวางแผน
งานในการพัฒนาอาชีพและฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับพลวัตรของตลาด
แรงงาน ประเด็นข้อถกเถียงที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานและน�ามา
ซึ่งปัญหาแรงงานส�าคัญ ๒ ประการได้แก่ การท�างานของแรงงานต่างด้าว
(๓.๓.๑) และ ผู้สูงอายุกับการท�างาน (๓.๓.๒)
๓.๓.๑ แรงงานต่างด้าว
สถานการณ์และความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศไทยที่มีเสถียรภาพสูงกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน กอปรกับ
ปัญหาภายในประเทศของประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้นที่คั่งค้างและสั่งสม
มาหลายทศวรรษ ท�าให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาหางานท�าและด�ารงชีพ
ในประเทศไทยทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมายของต่างด้าวที่มีสัญชาติ
ของประเทศซึ่งมีพรหมแดนติดกับไทย ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา และลาว
เมื่อเข้ามาแล้วคนต่างด้าวกลุ่มนี้ก็จะเริ่มหางานท�าเพื่อยังชีพและเมื่อเกิด
ความมั่นคงขึ้นก็จะอพยพครอบครัวเข้ามา ตลอดจนมีการสร้างเครือข่าย
เพื่อน�าเพื่อนหรือคนรู้จักติดต่อถึงกันได้เข้ามาเป็นลูกจ้างในตลาดแรงงานไทย
มากขึ้น ทั้งนี้สืบเนื่องจากตลาดแรงงานไทยเองก็มีความต้องการ
แรงงานต่างด้าวเป็นจ�านวนมาก ด้วยแรงงานเหล่านี้มีลักษณะนิสัย
ไม่ปฏิเสธงานและยอมรับเงื่อนไขการท�างานที่นายจ้างบางรายเสนอให้
ในสภาพที่ต�่ากว่ากฎหมายก�าหนด โดยแรงงานต่างด้าวมักคิดเสมอว่า
การมีงานท�าและสามารถเลี้ยงชีพตนและครอบครัวในประเทศไทยได้ดีกว่า
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 187 13/2/2562 16:37:43