Page 186 - kpi20761
P. 186
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 185
การพัฒนาฝีมือแรงงานที่ควรจะเป็น การประเมินความต้องการ
ของตลาดแรงงานไทยย่อมเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ส�าคัญที่สุดในการวางแผน
และก�าหนดแนวทางการฝึกฝีมือแรงงาน โดยการก�าหนดแนวทางนี้ควร
ค�านึงการเตรียมแรงงานตั้งแต่ระดับมัธยมปลายต่อเนื่องกับอุดมศึกษา
เพื่อจะได้ก�าหนดสัดส่วนของนิสิตนักศึกษาในกลุ่มอาชีวะให้เพียงพอต่อ
ความต้องการของตลาดแรงงาน อย่างไรก็ตามการก�าหนดฐานเงินเดือน
ของบัณฑิตกลุ่มอาชีวะจบใหม่มักจะน้อยกว่าบัณฑิตกลุ่มสามัญจบใหม่
ซึ่งความแตกต่างนื้เป็นแรงผลักดันที่ท�าให้ปริมาณนิสิตนักศึกษาในกลุ่ม
สามัญมากกว่า การตระหนักถึงและแก้ไขปัญหาจุดนี้ย่อมท�าให้ทัศนคติ
ของสังคมต่อการศึกษาต่อในระดับอาชีวะน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น
กระนั้น การจัดให้มีหลักสูตรอบรมเพื่อการพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน
โดยภาครัฐหรือเอกชนที่มีอ�านาจก็ยังคงเป็นเรื่องส�าคัญและจ�าเป็น หากแต่
ต้องเป็นการสนับสนุนและรองรับจากการขาดแคลนแรงงานอันเป็นผล
สืบเนื่องจากการวางเค้าโครงระบบการศึกษาอาชีวะและสามัญศึกษาที่ได้รับ
การแก้ไขให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานแล้ว
การปรับปรุงกฎหมายแรงงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนา
ฝีมือแรงงาน หากพิจารณาอย่างผิวเผินอาจเข้าใจได้ว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับ
การพัฒนาฝีมือแรงงานนั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือ
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ แต่ในความเป็นจริงแม้กฎหมายฉบับนี้จะมีเนื้อหา
เกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานก็ตามที แต่หากได้พิเคราะห์ในโครงสร้าง
บทกฎหมายแล้วน่าจะได้ค�าตอบว่ากฎหมายฉบับนี้มิได้กล่าวถึง “เนื้อหา
ของการพัฒนาฝีมือแรงงาน” แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับกล่าวถึง
ผู้ที่จะมาฝึกอบรมว่าต้องเป็นอย่างไร และผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 185 13/2/2562 16:37:43