Page 187 - kpi20761
P. 187

186


                 การคุ้มครองอย่างใดภายใต้บทบัญญัติกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ความใน
                 มาตรา ๓๖ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ก�าหนดสิทธิ

                 ในการลาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับลูกจ้าง และต่อมากฎกระทรวงฉบับที่ ๕
                 พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ก�าหนดหลักและเงื่อนไขในการลาเพื่อฝึกอบรมไว้ โดยอาจ
                 ลาได้ด้วย ๒ สาเหตุ กล่าวคือ การลาเพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและ

                 สวัสดิการหรือเพิ่มทักษะความช�านาญหรือประสิทธิภาพในการท�างาน
                 ให้กับลูกจ้าง หรือ อาจเป็นการลาเพื่อสอบวัดผลทางการศึกษาซึ่งทาง

                 ราชการจัดหรืออนุญาตให้จัด โดยต้องมีโครงการหลักสูตรและช่วงเวลา
                 ของโครงการหลักสูตรแน่นอน โดยการลาประเภทนี้ต้องมีการแจ้งการลา
                 ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันลา แต่ถ้านายจ้างเห็นว่า

                 ได้ลาเพื่อการนี้ครบ ๓๐ วันหรือสามครั้ง หรือการลาจะท�าให้เกิด
                 ความเสียหายต่อภาคธุรกิจก็สามารถที่จะไม่อนุมัติก็ได้ อันจะเห็นได้ว่า

                 เมื่อเทียบกับ “หลักการลา” ซึ่งมีองค์ประกอบส�าคัญ ๒ ข้อ คือจ�านวน
                 วันลา และจ�านวนค่าจ้างที่จะได้รับในระหว่างวันลา แต่การลาเพื่อพัฒนา
                 ฝีมือแรงงาน (ภายใต้บทบัญญัติกฎหมาย) ไม่มีส่วนใดกล่าวถึงกรอบ

                 ของหลักเกณฑ์ดังกล่าวเลย การก�าหนดกรอบจ�านวนวันที่พึงลาได้โดย
                 ประมาณก็ย่อมท�าให้มีความชัดเจนในการวางแผนเพื่อการลาข้อนี้ของ

                 ลูกจ้างได้มากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจก�าหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง
                 ระหว่างวันลาภายใต้เกณฑ์และเงื่อนไขที่ก�าหนดด้วย อันย่อมสะท้อน
                 ถึงการสนับสนุนให้ลูกจ้างได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเมื่อผ่านการ

                 ฝึกอบรมและกลับมาท�างานแล้วนายจ้างเองก็จะกลายเป็นฝ่ายได้
                 ประโยชน์ จากแรงงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
















         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   186                                    13/2/2562   16:37:43
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192