Page 185 - kpi20761
P. 185
184
กลับถูกมองว่าเป็นกลุ่มเยาวชนมที่มีปัญหาในการท�าความเข้าใจเนื้อหา
บทเรียนศึกษาต่างๆ จนกระทั่งในช่วงเวลาหนึ่งที่ผ่านมา เยาวชนจ�านวน
น้อยมากที่เลือกเรียนสายอาชีวะท�าให้ตลาดแรงงานไทยขาดแคลนบัณฑิต
ที่มีความเชี่ยวชาญในทางปฏิบัติที่ส�าเร็จการศึกษาและออกมาเป็นก�าลัง
ส�าคัญของวงการแรงงานไทย ในทางกลับกันบัณฑิตที่ผ่านการศึกษา
สายสามัญกลับมีจ�านวนมากเกินความต้องการของตลาดแรงงาน บัณฑิต
กลุ่มที่ผลการศึกษาไม่อยู่ในระดับดีก็มักจ�าต้องอยู่ในสภาวะว่างงาน
และท้ายที่สุดก็ต้องมีฝึกฝีมือแรงงานซึ่งเป็นเนื้อหาการศึกษาด้านอาชีวะ
เพื่อให้พอมีองค์ความรู้และความช�านาญในการปฏิบัติงานเพื่อเข้าสู่
ต�าแหน่งงานที่ต้องการความเชี่ยวชาญหรือช�านาญการเบื้องต้นได้
ผลที่สืบทอดตามมาก็คือแนวทางในการพัฒนาฝีมือแรงงานของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเป็นไปในท�านองที่มีการพัฒนาฝีมือระดับต้น
ให้กับประชากรกลุ่มที่ไม่มีฝีมือแรงงานหรือจบการศึกษามาแต่ไม่
สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงานไทย
นั่นก็คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕
ก็มิได้วางมาตรการที่สะท้อนให้เห็นภาพของการพัฒนาฝีมือแรงงาน
แต่อย่างใด ทว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นการก�าหนดมาตรการและแนวทาง
ที่จะท�าให้ได้มาซึ่งของผู้ที่จะฝึกฝมือแรงงานทั้งเพื่อเข้าท�างาน เปลี่ยนงาน
เพิ่มความเชี่ยวชาญ และทดสอบวัดความรู้ฝีมือแรงงาน จึงเท่ากับว่าไม่มี
บทกฎหมายส่วนใดเลยที่จะกล่าวถึง “เนื้อหา” ในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
หากแต่กล่าวถึง “คุณสมบัติ องค์ประกอบ และสิทธิประโยชน์” ของผู้ที่
จะมาให้การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของลูกจ้าง
จากการกระท�าของนายจ้างอันอาจส่งผลร้ายต่อการท�าการงานของลูกจ้าง
ในระหว่างฝึกฝีมือแรงงาน
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 184 13/2/2562 16:37:43