Page 180 - kpi20761
P. 180
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 179
อาจเป็นการปรับปรุงระบบบริหารจัดการของกองทุนนี้ให้ผู้ใช้แรงงาน
รู้สึกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น อีกทั้งการแสดงหาวิธีการหรือ
กระบวนการที่เหมาะสมในการบริหารจัดการและหาประโยชน์จากกองทุน
เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์หรือก�าไรที่กองทุนมี
อันแสดงถึงสถานะที่มั่งคั่งของผู้ใช้แรงงานที่ร่วมลงทุนนั่นเอง อย่างไรก็ตาม
หากการพัฒนาปรับปรุงกองทุนที่มีอยู่เป็นการไม่คุ้มค่าในการด�าเนินการ
ท�าให้ต้องมาพิจารณาถึงความเหมาะสมในการให้หน่วยงานอื่นหรือองค์กรอื่น
ที่มีอยู่แล้วได้จัดท�าการงานในส่วนนี้ก่อนที่จะมีการตั้งธนาคารแรงงานขึ้น
มาเสียใหม่เลย ดังเช่นเมื่อพิจารณาถึงความต้องการของฝ่ายผู้ใช้แรงงาน
ที่ต้องการให้มีการจัดตั้งธนาคารแรงงานก็เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการ
แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย
ปัจจัยสี่ ตลอดจนการซื้อรถยนต์หรือสาธารณูปโภคอื่นเพื่ออ�านวย
ความสะดวกในการด�าเนินชีวิต ก็อาจต้องพิเคราะห์ว่ามาตรการช่วยเหลือ
เหล่านี้ได้มีองค์กรหรือหน่วยงานใดได้ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว เช่น
เรื่องที่พักอาศัยก็ปราฏว่ามีธนาคารอาคารสงเคราะห์ท�าหน้าที่ในการ
ปล่อยสินเชื่อเงินกู้เพื่อการนี้โดยตรงเป็นต้น หรือหากจะเป็นการยากต่อ
การเข้าถึงของผู้ใช้แรงงานถ้าจะให้ต้องศึกษาความสอดคล้องของเรื่อง
ที่ตนประสงค์จะขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ก็อาจ
เทียบเคียงหน่วยงานที่ท�าหน้าที่ในการจัดการรวมศูนย์เช่นเดียวกับธนาคาร
แรงงานที่จะตั้งขึ้นได้ ซึ่งวิธีการนี้ประเทศญี่ปุ่นได้เคยใช้ธนาคาร SMEs
ที่มีอยู่แล้วเป็นกรณีศึกษาเพื่อทดลองการด�าเนินงานธนาคารแรงงานที่ก�าลัง
จะตั้งขึ้น โดยถือการรวมกลุ่มสหภาพและสหกรณ์แรงงานที่มีจุดมุ่งหมาย
ร่วมกันของสมาชิกเกี่ยวกับเรื่องการบริโภคและที่อยู่อาศัยเทียบเคียบกับ
SMEs ก็จะท�าให้สมาชิกสามารถเข้าใช้ประโยชน์จากธนาคาร SMEs ได้
โดยผ่านสหภาพหรือสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิก
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 179 13/2/2562 16:37:42