Page 178 - kpi20761
P. 178
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 177
มีความเข้มแข็งในด้านเศรษฐกิจ หรือเพื่อการพัฒนา
คุณภาพชีวิต
๔. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ ผู้ประกอบการ
เพื่อใช้ด�าเนินงานภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์
ในการจัดตั้งธนาคารแรงงาน
๕. ลดความเหลื่อมล�้า สร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
โดยกระจายกรรมสิทธิ์ให้แรงงาน และ
๖. ขยายฐานเศรษฐกิจภาคแรงงาน
ต่อมาได้มีการน�าเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปยังรัฐบาล
เพื่อพิจารณา เป็นผลให้มีการบรรจุเรื่อง “ธนาคารแรงงาน” เป็นหนึ่งใน
วาระปฏิรูปแห่งชาติเรื่องการแรงงานที่ต้องการงานศึกษาเชิงลึกทั้งข้อดี
และข้อเสียที่เกิดหรืออาจจะเกิดขึ้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
ของรัฐบาลในการตัดสินใจที่จะด�าเนินการจัดตั้งธนาคารแรงงานต่อไป
อีกหรือไม่ ร่วมเดินหน้าต่อไปเพื่อการปฏิรูป ประเด็นหนึ่งที่สมควรน�ามา
พิเคราะห์ก็คือร่างฉบับที่ฝ่ายลูกจ้างได้เสนอต่อรัฐบาลนั้นถูกตัดและปรับ
ข้อความถ้อยค�าบางส่วนด้วยอ้างว่าเพื่อให้มีความสั้นกระชับมากขึ้น และ
กลายเป็นร่างพระราชบัญญัติธนาคารแรงงาน พ.ศ... คณะกรรมาธิการ
ปฏิรูปแรงงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ตัวแทนฝ่ายลูกจ้างพยายามปฏิเสธ
ถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ว่าธนาคาร
เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง
นอกจากนี้แล้ว การพิเคราะห์กรอบวัตถุประสงค์ของธนาคาร
แรงงานที่จะจัดตั้งขึ้นนั้นเห็นได้ว่าเป็นไปในทางที่จะเป็นแหล่งเงินออม
ของผู้ใช้แรงงาน ที่บริหารจัดการโดยผู้ใช้แรงงานกันเอง และด้วยมุ่งที่จะให้
เกิดประโยชน์สูงสุดในวงแรงงาน การออมเงินในธนาคารแรงงานนี้มิได้
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 177 13/2/2562 16:37:42