Page 173 - kpi20761
P. 173

172


                 เช่น การจัดชุดเครื่องแบบพนักงาน รถรับส่ง อาหารเครื่องดื่มราคา
                 ที่เหมาะสมนั้น ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย หากแต่กฎหมาย

                 ต้องการปล่อยให้เป็นไปตามเสรีภาพของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง
                 จะตกลงก�าหนดกันเอาเองตามแต่ความสามารถในการจัดและความต้องการ
                 ในสิ่งของนั้นของแต่ละสถานประกอบการ




                         สวัสดิการแรงงานในรูปแบบเงิน นอกจากนี้แล้วยังมีการก�าหนด
                 ให้มีการจัดตั้งกองทุน “สงเคราะห์ลูกจ้าง” เพื่อเป็นทุนส�ารองทางการเงิน

                 ให้กับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างได้น�ามาใช้จ่ายในยามคับขันลักษณะที่ว่า
                 นายจ้างประสบภาวะจ�าเป็นทางด้านการเงินก็สามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนนี้

                 ได้ภายใต้เงี่อนไขทั้งเรื่องดอกเบี้ยและวิธีการกู้และคืนที่ก่อพันธะให้นายจ้าง
                 น้อยที่สุด ในส่วนของลูกจ้างนั้นเป็นไปในลักษณะกึ่งสวัสดิการกึ่งการออม
                 กล่าวคือ ในระหว่างที่ลูกจ้างยังคงเป็นลูกจ้างซึ่งมีรายได้ประจ�าอยู่นั้น

                 ก็ให้มีการตัดหักเงินส่วนหนึ่งของค่าจ้างมาเป็นเงินสะสมในลักษณะของ
                 การออมและนายจ้างก็สมทบเงินอีกส่วนหนึ่งในอัตราที่เท่ากันตามที่

                 กฎหมายก�าหนดให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นสวัสดิการ ซึ่งเงินจ�านวนนี้จะถูก
                 บริหารจัดการเพื่อให้ได้ดอกผลและมีเงื่อนไขในการจ่ายคืนให้กับลูกจ้าง
                 เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลงหรือตามเงื่อนไขเพื่อเป็นทุนส�ารองเลี้ยงชีพ

                 ในยามที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ ทว่าสภาวะเศรษฐกิจและนโยบายในการ
                 บริหารจัดประเทศที่จ�าต้องเน้นเรื่องการลงทุน รัฐบาลจึงจ�าเป็นต้อง

                 ผ่อนภาระให้แก่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างโดยไม่เรียกเก็บเงินสมทบและ
                 เงินสะสมเข้ากองทุนฯ  แต่ปล่อยให้เป็นอิสระของนายจ้างและลูกจ้าง
                                   ๒๔๕


                 ๒๔๕  voicelabour.org/ข่าวแรงงาน, กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง, [ออ นไลน์] http://
                 voicelabour.org/wp-content/uploads/2012/11/%E0%B8%81%E0%B8%AD%
                 E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B






         inside_ThLabourLaw_c3-5.indd   172                                    13/2/2562   16:37:42
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178