Page 168 - kpi20761
P. 168
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 167
การท�างานบนเรือที่ยังขาดความชัดเจนของวิธีการและอัตราก�าลังบุคคลากร
ที่จะท�าการตรวจเรือ อันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถเข้าถึงความคุ้มครอง
และประโยชน์สวัสดิการที่กฎหมายก�าหนดไว้ได้อย่างเต็มที่ ในส่วนของ
พระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ เอง แม้เนื้อหาและถ้อยค�าของบทกฎหมาย
จะสอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๗ ก็ตาม แต่ในทาง
ปฏิบัติพบว่า หลักการที่ถูกก�าหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีการน�าไป
ปรับใช้ในลักษณะที่หลากหลายขาดความเป็นเอกเทศ นายจ้างหลายราย
ก็ไม่น�าพาต่อหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนลูกจ้างก็ไม่เข้าใจหน้าที่ที่ตน
พึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย อีกทั้งการประสานงานกับ
เจ้าพนักงานของรัฐก็มีอุปสรรคปัญหา อันท�าให้บทกฎหมายที่ในทาง
รูปแบบต้องถือว่ามีความเป็นสากล แต่ด้วยปัญหาในการบริหารจัดการ
ท�าให้เนื้อหาของกฎหมายที่มีอยู่ไม่ได้เป็นไปตามกรอบวัตถุประสงค์
ที่ก�าหนดไว้อย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่าการพัฒนาแก้ไขกฎหมายแรงงานไทย
ในส่วนที่เป็นพันธกิจบังคับ ด้วยเหตุที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาของเนื้อหา
ในอนุสัญญาแกน ซึ่ง ILO เน้นย�้าถึงความส�าคัญและมุ่งหมายให้ประเทศ
สมาชิกลงนามให้สัตยาบัน ซึ่งจะท�าให้เกิดพันธะในการน�าหลักการดังกล่าว
ไปถือปฏิบัติ อันน�ามาซึ่งการมีมาตรฐานแรงงานขั้นต�่าพื้นฐานเดียวกัน
ในสังคมโลก และเหตุที่เป็นอนุสัญญาซึ่งประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบัน
ไว้แล้วนั้น จ�าต้องมีวิธีการในการพัฒนาอยู่ด้วยกัน ๒ ระดับ กล่าวคือ
ระดับที่พัฒนาและแก้ไขบทกฎหมายส�าหรับส่วนที่ยังเป็นประเด็นปัญหา
และมีความไม่สอดคล้องกับแนวทางของ ILO กับระดับที่กฎหมายที่มีอยู่
มีความเป็นสากลอยู่แล้ว หากแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากบริบท
ในทางปฏิบัติ ดังนี้ การพัฒนาแก้ไขในส่วนหลังนี้ไม่ใช่การพัฒนา
บทกฎหมาย แต่หากเป็นการแสวงหาเครื่องมือหรือมาตรการเสริม
เพื่อท�าให้กฎหมายที่มีอยู่สามารถใช้งานได้ตามเป้าประสงค์ได้อย่างแท้จริง
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 167 13/2/2562 16:24:16