Page 165 - kpi20761
P. 165
164
แต่ก็ยังไม่ปรากฏถ้อยความที่ชัดเจนซึ่งสะท้อนถึงความสอดคล้องของ
กฎหมายภายในกับเนื้อหาของอนุสัญญา ท�าให้เข้าใจได้ว่าบทบัญญัติ
กฎหมายแรงงานไทยปัจจุบันมีเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวกับหลักความเสมอภาค
และการไม่เลือกปฏิบัติ แต่เฉพาะความเท่าเทียมกันระหว่างลูกจ้างชาย
และลูกจ้างหญิงเท่านั้น โดยที่ยังไม่มีบทบัญญัติรับรองการไม่เลือกปฏิบัติ
อันเนื่องมาจากเหตุบริบทอื่น ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา
ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ หรือพื้นฐานทางสังคม ฯลฯ
๒๓๙
อันถือเป็นสาระส�าคัญของอนุสัญญาฉบับนี้ และเมื่อพิจารณาประกอบ
บริบทที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑ ไว้ตั้งแต่เดือน
มิถุนายนปีที่แล้ว ซึ่งมีผลบังคับให้ประเทศไทยต้องปรับแก้บทกฎหมาย
และแนวปฏิบัติภายในให้สอดคล้องกับเนื้อหาของอนุสัญญาภายใน ๑ ปี
ให้หลัง และก�าลังจะถึงก�าหนดในเดือนมิถุนายนปีนี้ ก็ท�าให้กลายเป็น
ปัจจัยเร่งด่วนต่อการพัฒนากฎหมายแรงงานไทย ทั้งนี้ไม่เพียงเพื่อให้
บทกฎหมายสอดคล้องกับหลักการสากล แต่ยังเป็นไปเพื่อการลุล่วงต่อ
พันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยได้เข้าผูกพันไว้กับ ILO เพราะหากกระท�า
ไม่ได้แล้ว ประเทศไทยก็อาจถูกตั้งกระทู้ถามและอาจรุนแรงถึงขั้นประนาม
ในที่ประชุมใหญ่ อันท�าให้เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงของประเทศตามมา
๒.๒.๒.๒ ประเด็นปญหาอื่น ๆ
กำรออกกฎหมำยล�ำดับรองเพื่อกำรน�ำหลักกำรในอนุสัญญำ
ฉบับต่ำงๆ มำใช้ปฏิบัติให้เกิดผลจริง การร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
๒๓๙ ILO Convention 111 [Online], http://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=NORM
LEXPUB:12100:0::NO:12100:P12100_INSTRUMENT_ID:312256:NO [9 jan 2018]
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 164 13/2/2562 16:24:16