Page 166 - kpi20761
P. 166
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 165
การแรงงาน โดยเฉพาะบทบัญญัติที่มุ่งหมายให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับ
หลักการสากล ด้วยอาจเป็นเพราะบทบัญญัติในเรื่องนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับลักษณะการใช้แรงงานในประเทศ หรืออาจด้วยข้อผูกพันที่
ประเทศไทยได้ให้ไว้ด้วยการให้สัตยาบันในอนุสัญญาฉบับต่างๆ ก็มัก
ปรากฏเสมอว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างกฎหมายไม่ว่าจะเป็น
คณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงแรงงาน ฯลฯ มักจะอาศัยการเทียบเคียง
เนื้อหาและถ้อยค�าในอนุสัญญาแล้วถอดออกเป็นร่างกฎหมายที่จะ
ใช้บังคับต่อไป หากแต่อาจมีการเพิ่มเนื้อหาและรายละเอียดเพื่อให้มี
ความครบถ้วนและน�าไปปฏิบัติได้จริงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ โดยหลักการแล้ว
บทกฎหมายแรงงานไทยที่ประกาศใช้ในรูปของพระราชบัญญัติเฉพาะ
มักจะมีเนื้อหาไม่ผิดเพี้ยนไปจากอนุสัญญาที่ ILO ได้ก�าหนดเป็นกรอบ
แนวคิดของการใช้แรงงานในเรื่องนั้นๆ เท่าใดนัก ทว่าการยกร่างกฎหมาย
ในบางครั้ง แม้จะมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
อย่างรอบคอบกันแล้วกันตาม แต่ก็มักปรากฏอยู่บ่อยครั้งว่า บทบัญญัติ
ที่ประกาศใช้มักจ�าเป็นต้องมีกฎหมายล�าดับรองออกมารองรับอีกทบหนึ่ง
เพื่อที่จะให้เนื้อหาในบทกฎหมายสามารถน�าไปใช้ปฏิบัติให้ได้ผลลัพธ์
ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายอย่างแท้จริง ซึ่งเนื้อหาและ
รายละเอียดของกฎหมายล�าดับรองเหล่านี้ก็จะไม่ปรากฏในอนุสัญญา
หรือเอกสารของ ILO อย่างชัดเจนมากนัก หากจะมีก็อาจพบกลไก
และวิธีการด�าเนินการกับเนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนั้นๆ ได้ในข้อแนะ
ที่ ILO ได้ออกไว้เป็นคู่ขนานเพื่อการปฏิบัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญา
แต่ด้วยบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่มีความเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะของแต่ละประเทศท�าให้วิธีการหรือกลไกเหล่านั้น อาจเป็นได้เพียง
แนวทางพื้นฐานเบื้องต้น ที่ประเทศสมาชิกจะต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ต่อไปตามแต่บริบทและข้อจ�ากัดที่ต่างกัน
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 165 13/2/2562 16:24:16