Page 162 - kpi20761
P. 162

การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ  161


                    การยื่นข้อเรียกร้องเพื่อเจรจาต่อรองว่าเป็นสิทธิพื้นฐานทางด้านแรงงาน
                    ที่เป็นโอกาสและช่องทางให้ภาคีสังคมทั้งฝายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง

                    สามารถต่อรองประโยชน์ใดๆ อันเกี่ยวกับการแรงงานที่ฝ่ายตนพึงได้
                    ประโยชน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพการจ้าง ชั่วโมงการท�างาน
                    ค่าตอบแทนการท�างาน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ทั้งของตนเองและ

                    ของบุคคลในครอบครัว ตลอดจนส่วนแบ่งผลประโยชน์จากความส�าเร็จ
                    ในการประกอบกิจการที่เหมาะสม  ด้วยคาดว่าการต่อรองที่จะท�าให้เกิด
                                                ๒๓๔
                    ความยินยอมของทั้งฝ่ายที่ต้องการและอีกฝ่ายที่ยอมรับกับความต้องการ
                    นั้นได้ ก็ท�าให้เกิดสันติสุขในวงแรงงานเพราะเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นอย่าง
                    สมดุลบนพื้นฐานของความต้องการและความสามารถจัดให้ โดยรัฐไม่ต้อง

                    เข้าไปแทรกแซงบังคับ กระนั้นในทางปฏิบัติมักปรากฏว่าสหภาพแรงงาน
                    ตลอดจนการรวมกลุ่มของลูกจ้างด้วยวิธีอื่นๆ มักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ

                    เพื่อต่อรองประโยชน์ให้กับคนกลุ่มหนึ่งมากกว่าที่จะเป็นการต่อรองประโยชน์
                    ของ “กลุ่มลูกจ้าง” อย่างแท้จริง ซึ่งประเด็นปัญหาข้อนี้ไม่ใช่เรื่องที่กฎหมาย
                    อาจแทรกแซงได้โดยตรงเพราะต้นเรื่องแห่งปัญหาไม่ใช่ประเด็นข้อกฎหมาย

                    หากแต่เป็นประเด็นข้อเท็จจริงที่อาจเป็นปัญหาเฉพาะที่เกิดขึ้นในบางสังคม
                    อย่างเช่นประเทศไทยเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แม้การพัฒนากฎหมายแรงงาน

                    โดยการเพิ่มเติมถ้อยค�าในบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาจไม่สามารถแก้ไข
                    ปัญหาข้อนี้ได้ แต่ก็ถือเป็นข้อท้าทายที่แนวคิดในการพัฒนากฎหมาย
                    แรงงานสัมพันธ์ของประเทศไทยควรหากลไกใดที่จะมาช่วยแก้ไขประเด็น

                    ค�าถามในข้อนี้



                    ๒๓๔  ข่าวแรงงานงาน, สิทธิในสหภำพแรงงำนที่ไม่เป็นจริง : ภำพสะท้อนสภำวะสูญญำกำศ
                    ของกฎหมำยแรงงำนสัมพันธ์ในประเทศไทย, [ออนไลน์] http://voicelabour.org/%E0
                    %B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%83%
                    E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E
                    %E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%
                    99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84/ [๑๐ มกราคม ๒๕๖๑]





         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   161                                    13/2/2562   16:24:16
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167