Page 157 - kpi20761
P. 157
156
การที่ประเทศไทยยอมรับว่าอ�านาจของกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรอง
ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ในการแรงงานเป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจาก
การรับรองเสรีภาพในการสมาคมซึ่งเป็นสารัตถะส�าคัญของอนุสัญญา
ฉบับที่ ๙๘ ด้วยการถ่ายทอดผ่านบทบัญญัติกฎหมายฉบับต่างๆ
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานสัมพันธ์ ก็พอท�าให้สามารถอนุมานได้ว่า
๒๒๑
กฎหมายแรงงานไทยยอมรับและน�ามาปฏิบัติใช้จริงทั้งในส่วนของหลักการ
ที่ว่าด้วย “เสรีภาพในการรวมกลุ่ม” และหลักการที่ว่า “การรวมกลุ่มนั้น
เป็นไปเพื่อการเจรจาต่อรอง” กระนั้นประเทศไทยก็ยังคงถูกตั้งค�าถาม
จากเวทีสากลถึงประเด็นปัญหาที่สั่งสมมาเกี่ยวกับความไม่สอดคล้อง
ของบทบัญญัติบางมาตราและแนวปฏิบัติในบางเรื่องกับมาตรฐานสากล
๒๒๒
ในเรื่องนี้ ซึ่งอาจสรุปได้ ๓ ประเด็นหลักด้วยกัน กล่าวคือ ประเด็นแรก
การรวมกลุ่มของแรงงานในประเทศไทยยังไม่ได้เป็นไปอย่างเสรีแต่กลับ
มีการแทรกแซงโดยรัฐ ประการที่สอง เสรีภาพในการรวมกลุ่มของ
ประเทศไทยยังปรากฏว่ามีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลต่างๆ ประการที่สาม
ประเด็นข้อเรียกร้องที่ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างก�าหนดขึ้นนั้นยังไม่เป็นไป
เพื่อประโยชน์ในการแรงงานสัมพันธ์โดยแท้
๒๒๑ ในปัจจุบัน ปรากฏกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานสัมพันธ์ ๓ ฉบับด้วยกัน
กล่าวคือ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ และร่างพระราชกฤษฎีกา ก�าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ... โดยที่กฎหมายแรงงานสัมพันธ์แต่ละฉบับ
มีขอบเขตบังคับใช้กับกิจการของเอกชน รัฐวิสาหกิจ และข้าราชการพลเรือน ตามล�าดับ
ดังนั้นในงานวิจัยนี้ หากมีการกล่าวถึงกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานสัมพันธ์
จึงหมายความถึงการศึกษาในเนื้อหาของกฎหมายทั้ง ๓ ฉบับดังกล่าว (คณะผู้วิจัย)
๒๒๒ ILO, ILO-Thai Trade Unions meeting on Trade Unions agenda for decent work
in Thailand, [Online] http://www.ilo.org/asia/media-centre/articles/WCMS_503910/
lang--en/index.htm, [11 jan 2018]
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 156 13/2/2562 16:24:15