Page 153 - kpi20761
P. 153
152
กฎหมายแรงงาน กล่าวคือ การปรับปรุงข้อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในอนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
อย่างไรก็ตาม ดังที่ได้อธิบายกันมาแล้วถึงอุปสรรคปัญหาที่เป็นสาเหตุ
ท�าให้ข้อกฎหมายส่วนที่ไม่อาจปรับเปลี่ยนได้ง่าย หากแต่ต้องใช้เวลา
พอสมควรเพื่อท�าให้พื้นฐานของปัญหา ซึ่งก็คือ ระบบสังคมและ
การปกครองสามารถยอมรับและรองรับกับผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
ข้อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์เป็นเบื้องต้นเสียก่อน ท�าให้สามารถคิดได้ว่า
การเปลี่ยนแปลงปัญหาประเด็นนี้อาจต้องอยู่ในรูปของการ “พัฒนา”
อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีการ
แก้ไขทั้งส่วนของตัวบทบัญญัติกฎหมาย (การพัฒนาในด้านรูปแบบ) และ
ส่วนที่เป็นแนวปฏิบัติที่สังคมส่วนรวมสามารถน�าบทบัญญัตินั้นไปใช้ปฏิบัติ
ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม (การพัฒนาในด้านเนื้อหา)
กำรปฏิรูปกฎหมำยแรงงำน ในส่วนที่สองเป็นเรื่องความต้องการ
ของรัฐบาลในแต่ละช่วงสมัยที่มีความแตกต่างกันตามความผันแปรของ
เศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยโจทย์ค�าถามส่วนนี้
เกิดจากสภาวะของเงื่อนไขที่ไม่แน่นอน มีพลวัตรและความเปลี่ยนแปลง
ไปตามแต่ช่วงเวลา อันถือเป็นข้อท้าทายของรัฐบาลที่ขึ้นมาเป็นผู้บริหาร
ประเทศในช่วงเวลานั้น ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นเรื่องที่มีต้นก�าเนิดเกิดจาก
ประเด็นปัญหาใดๆ ที่มิใช่เรื่องเกี่ยวกับการแรงงานโดยตรง เช่น
การลดอัตราการเกิดของประชากร การอพยพหลั่งไหลของเข้าคนต่างด้าว
การประพฤติปฏิบัติกับคนกลุ่มหนึ่งต่างจากคนกลุ่มอื่นด้วยเหตุที่คนกลุ่มนั้น
ไม่มีอ�านาจในการต่อสู้หรือต่อรองหรือมีแต่น้อยกว่าคนกลุ่มอื่น เป็นต้น
โดยที่สภาพปัญหาส่วนนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานแรงงานสากล
ที่ ILO ตั้งความปรารถนาไว้กับประเทศสมาชิกแต่อย่างใด หากแต่เป็น
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 152 13/2/2562 16:24:15