Page 154 - kpi20761
P. 154
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 153
เรื่องที่เร้าต่อนโยบายของรัฐในแต่ละช่วงสมัยว่าควรก�าหนดมาตรการใดๆ
ขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการและมาตรการเช่นนั้นอาจเกี่ยวกับข้อกฎหมายหรือ
นโยบายทางด้านแรงงาน ซึ่งการที่รัฐบาลตัดสินใจแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติ
กฎหมายแรงงานด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ก็มักจ�าเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบ
ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นหากมีการแก้ไขหรือไม่แก้ไขกฎหมาย กล่าวคือ
หากบริบทแวดล้อมนั้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์หรือสถานะการบริหาร
ประเทศในระยะสั้นๆ ก็อาจถูกมองเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่คุ้มค่าต่อการที่
จะไปแก้ไขบทกฎหมายแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม หากบริบทนั้นแม้จะ
เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงเวลาหนึ่งแต่เหตุที่ไม่มี
การแก้ไขปรับปรุงข้อกฎหมายหรือแนวปฏิบัติออกมารองรับเลยก็ด้วยเหตุ
ที่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่พอรับมือได้ แต่ครั้นมาถึง ณ ขณะเวลาปัจจุบัน
เหตุการณ์อันเป็นบริบทเช่นนั้นมีแนวโน้มที่จะยังคงด�าเนินต่อไป หรือ
มีการเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง จึงจ�าเป็นต้องพิจารณาแก้ไขบทบัญญัติ
กฎหมายในลักษณะที่เป็นการ “ปฏิรูป” กฎหมาย กล่าวคือ ไม่เคยมีกฎหมาย
ในลักษณะดังกล่าวอยู่ก่อน แต่ด้วยเหตุการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปท�าให้ต้อง
ค�านึงถึงกฎหมายในลักษณะเช่นนั้น โดยอาจเริ่มจากบทบัญญัติที่เป็น
การวางกรอบเค้าโครงแล้วค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระไป และอาจใช้
ระยะเวลาอันสั้นและกระชับกว่า “การพัฒนา” กฎหมาย เพราะถือว่าเป็น
เรื่องใหม่อีกทั้งมีความส�าคัญเร่งด่วน
ด้วยเหตุนี้ “การพัฒนากฎหมายแรงงานไทย” จึงจ�าเป็นต้องย้อน
กลับมาพิจารณากรอบแนวคิดดังกล่าวข้างต้นว่า ประเด็นข้อกฎหมายที่จะ
แก้ไขนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นค�าถามมาแล้วหากแต่ยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุง
ให้ดีขึ้น จึงจ�าเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อความสมบูรณ์ของบทกฎหมาย
แรงงานไทยต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะผู้วิจัยเห็นว่าเป็นประเด็นส�าคัญที่จะ
ต้องน�ามาพิจารณาในบทนี้ด้วยถือเป็นเรื่องที่จ�าเป็นเพื่อ “ความสมบูรณ์
อย่างสากลของบทกฎหมายแรงงานไทย” ส่วนข้อค�าถามที่เพิ่งจะเกิดขึ้นจาก
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 153 13/2/2562 16:24:15