Page 158 - kpi20761
P. 158
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 157
เสรีภำพในกำรรวมกลุ่มที่ถูกก�ำกับโดยรัฐ การศึกษา
บทกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานสัมพันธ์อย่างเป็นองค์รวม ท�าให้
พบข้อสังเกต ๒ ประการที่สะท้อนถึงการตีกรอบเสรีภาพในการรวมกลุ่ม
เพื่อการแรงงานในประเทศไทย กล่าวคือ ประการแรก การรวมกลุ่ม
๒๒๓
๒๒๔
ของลูกจ้างผู้ใช้แรงงานทั้งภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ เพื่อจัดตั้ง
สหภาพแรงงานหรือองค์กรทางด้านการแรงงานอื่นที่มีลักษณะท�านอง
เดียวกันจะเกิดขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไขและต้อง “ขออนุญาต” จากนายทะเบียน
เป็นเบื้องต้นเสียก่อน ซึ่งข้อก�าหนดในลักษณะนี้ถือเป็นการขัดต่อ
๒๒๕
หลักการในมาตรา ๔ แห่งอนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ ที่ไม่ประสงค์ให้อ�านาจ
บริหารงานของรัฐเข้ามาแทรกแซงการใช้เสรีภาพในข้อนี้ ในทางตรงกัน
ข้ามบทบัญญัติส�าหรับการรวมกลุ่มของข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งแม้
ปัจจุบันจะยังคงเป็นร่างกฎหมายอยู่ แต่ก็ปรากฏถึงการเปลี่ยนแปลง
๒๒๖
ที่เกิดขึ้นกับวิธีการที่ประเทศไทยน�ามาใช้เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มของ
ข้าราชการ โดยให้ใช้วิธี “แจ้ง” แทนการ “ขออนุญาต” อันท�าให้เห็นภาพ
ของการมีเสรีภาพมากขึ้น เพราะการแจ้งเป็นเพียงการให้ข้อมูลโดยไม่ต้อง
มีการพิจารณาตอบกลับดังเช่นการขออนุญาต ดังนี้แล้วจึงเกิดเป็น
ข้อพิจารณาว่ากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ของภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
เองก็ควรมีการแก้ไขถ้อยค�าให้สอดคล้องกับ “เสรีภาพ” ซึ่งเป็นหลักการ
ส�าคัญของการรวมกลุ่มลูกจ้างผู้ใข้แรงงานด้วย ประการที่สอง ประเภท
๒๒๓ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๘๙
๒๒๔ พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ มาตรา ๔๒
๒๒๕
Freedom of Association and Protection of the Right to Organise Convention, 1948
(No. 87), article 4 Workers' and employers' organisations shall not be liable to be
dissolved or suspended by administrative authority.
๒๒๖
ร่างพระราชกฤษฎีกา ก�าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรวมกลุ่มข้าราชการ
พลเรือนสามัญ พ.ศ. ... มาตรา ๑๒
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 157 13/2/2562 16:24:15