Page 160 - kpi20761
P. 160
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 159
และอาหารทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม ฯลฯ ไม่สามารถที่จะรวมกลุ่ม
๒๓๑
ตั้งสภาพแรงงานเองได้ หากแต่ต้องรอให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน
ที่ลูกจ้างผู้จัดตั้งมีนายจ้างคนเดียวกับตน หรือเป็นสหภาพแรงงานของ
ลูกจ้างที่ท�างานในกิจการประเภทเดียวกับตนขึ้นเสียก่อน จึงจะท�าให้
แรงงานต่างด้าวเข้าเป็นสมาชิกในสหภาพได้ ดังนี้ ตราบเท่าที่ยังไม่มี
การจัดตั้งสหภาพแรงงานในสองลักษณะดังกล่าวโดยแรงงานสัญชาติไทย
ก็ท�าให้แรงงานต่างด้าวถูกปิดกันเสรีภาพในส่วนนี้อยู่เรื่อยไปนั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว สัญชาติของแรงงานยังเป็นเครื่องกีดกั้นมิให้ลูกจ้างต่างด้าว
มีสิทธิในการบริหารจัดการสหภาพแรงงานที่ตนสมัครเข้าเป็นสมาชิกได้
อีกโสตหนึ่งด้วย โดยก�าหนดให้เป็นคุณสมบัติของกรรมการสหภาพแรงงาน
๒๓๒
ที่ต้องเป็นผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด อันท�าให้ถูกมองว่าเสรีภาพ
ในการรวมกลุ่มของลูกจ้างต่างด้าวถูกจ�ากัดไว้แต่เพียงการเป็นสมาชิก
ของสหภาพแรงงานที่มีการตั้งขึ้นโดยลูกจ้างสัญชาติไทยแล้วเท่านั้น
ส�าหรับการเลือกปฏิบัติประการที่สองที่สะท้อนออกมาจาก
บทบัญญัติกฎหมายแรงงานสัมพันธ์นั้น คณะผู้วิจัยได้มีการกล่าวถึงเป็น
เบื้องต้นแล้วในประเด็นก่อนหน้านี้ กล่าวคือ การที่จ�ากัดประเภท
๒๓๓
ของสหภาพแรงงานลูกจ้างแคบเกินไปโดยก�าหนดไว้เพียง ๒ ประเภท
เท่านั้น ซึ่งหากเปรีบเทียบกับจุดมุ่งหมายที่สากลยอมรับในเสรีภาพใน
สมาคมนี้ เห็นได้ว่าก็เพื่อที่จะให้ลูกจ้างมีอ�านาจต่อรองกับฝ่ายนายจ้าง
ในการจัดสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งสิทธิประโยชน์ดังว่านี้
อาจเกิดจากความเห็นพ้องส�าหรับกิจการประเภทเดียวกัน หรือลูกจ้าง
๒๓๑ โปรดศึกษาเพิ่มเติม [ออนไลน์] http://samutsakhon.mol.go.th/node/56 [๑๐ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑]
๒๓๒
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๑๐๑
๒๓๓ โปรดศึกษาย่อหน้าที่ ๑๔๒
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 159 13/2/2562 16:24:15