Page 164 - kpi20761
P. 164
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 163
หลักการอันจะท�าให้เกิดความชัดเจน เข้าถึงได้ และสามารถน�าไปปฏิบัติ
ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริง ส�าหรับหลักความเสมอภาค
และการไม่เลือกปฏิบัตินั้น ถือได้ว่าเป็นหลักการที่ค่อนข้างกว้างครอบคลุม
เนื้อหาในหลายแขนงวิชานิติศาสตร์ การน�าหลักการทั้งสองไปใช้กับ
กฎหมายสาขาต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับมิติและมุมมองที่หลากหลายตามแต่
กฎหมายสาขานั้นๆ ในส่วนของกฎหมายแรงงานเองก็ได้มีน�าหลัก
ความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติมาใช้เป็นหลักการเพื่อก�าหนด
เป็นบทบัญญัติบางประการที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานขั้นต�่า
ในการคุ้มครองแรงงาน โดยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งมีด้วยกัน ๒ ประการคือ การไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติระหว่าง
ลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิงเว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจท�า
เช่นนั้นได้ ประการหนึ่ง และการจ่ายค่าตอบแทนการท�างานส�าหรับงาน
๒๓๗
ที่มีลักษณะและคุณภาพอย่างเดียวกันและปริมาณเท่ากันแก่ลูกจ้างชาย
และลูกจ้างหญิงนั้นต้องมีความเท่าเทียมกัน ๒๓๘ อีกประการหนึ่ง
บทบัญญัติดังกล่าวนี้ท�าให้ประเทศไทยมีบทกฎหมายครอบคลุมเนื้อหา
ของอนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๐ ที่ส่งผลให้ประเทศไทยมีความพร้อมเพียงพอ
ที่จะให้สัตยาบันกับอนุสัญญาฉบับดังกล่าวเมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๙ (พ.ศ. ๒๕๔๒)
จึงเท่ากับว่าเป็นกรณีที่ประเทศไทยได้ท�าการแก้ไขปรับปรุงบทกฎหมาย
ภายในให้สอดคล้องกับเนื้อหาของอนุสัญญาก่อน ซึ่งท�าให้เกิดความพร้อม
อย่างเต็มรูปแบบในการให้สัตยาบันฯ ในทางกลับกัน การให้สัตยาบัน
อนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑ ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการแก้ไขบทบัญญัติกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแม้ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะได้รับรองหลักความ
เสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ แล้วก็ตาม
๒๓๗ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๕
๒๓๘
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕๓
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 163 13/2/2562 16:24:16