Page 163 - kpi20761
P. 163
162
(ข) ควำมเท่ำเทียมกันของแรงงำน
การให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ถือได้ว่าเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์และความพร้อมของประเทศไทย
ที่จะปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายและแนวปฏิบัติภายในให้สอดคล้อง
กับเนื้อหาของอนุสัญญาที่เน้นความเสมอภาคในโอกาสและการปฏิบัติ
ในการจ้างงาน การเข้ารับการฝึกงาน และการประกอบอาชีพเพื่อขจัด
การเลือกปฏิบัติ ซึ่งในอันที่จริงแล้ว “หลักความเสมอภาค” เป็นหลักการ
พื้นฐานที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้มีการรับรองไว้ตั้งแต่
๒๓๕
รัฐธรรมนูญฉบับแรก ส่วน “หลักการไม่เลือกปฏิบัติ” นั้นปรากฏการรับรอง
อย่างชัดแจ้งครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๔๐ ดังนี้แล้วหลักการทั้งสองเรื่องจึงไม่ใช่สิ่งใหม่ในระบบกฎหมายไทย
๒๓๖
ทว่าในทางปฏิบัติหลักการต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่
ค่อนข้างมีความเป็นนามธรรม การน�าหลักการเหล่านี้มาใช้ปฏิบัติให้
เกิดผลจึงต้องตรากฎหมายล�าดับศักดิ์พระราชบัญญัติที่มีเนื้อหารองรับ
๒๓๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม มาตรา ๑๒ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญนี้ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ฐานันดรศักดิ์ โดยก�าเนิดก็ดี โดยแต่งตั้ง
ก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี ไม่กระท�าให้เกิดเอกสิทธิอย่างใดเลย”
๒๓๖ รัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐ บุคคลย่อม
เสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�าเนิด
เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ
หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัด
ต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระท�ามิได้
มาตรการที่รัฐก�าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิ
และเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตาม
วรรคสาม
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 162 13/2/2562 16:24:16