Page 156 - kpi20761
P. 156
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 155
๒.๒.๒.๑ ประเด็นที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของอนุสัญญาแกน
การรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรองอันเป็นสาระส�าคัญของ
อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้ลงนาม
ให้สัตยาบันถือเป็นเรื่องที่คั่งค้างมาเป็นเวลานาน ท่าทีของกฎหมายไทย
ทั้งส่วนของกฎหมายที่มีเนื้อหาเฉพาะเกี่ยวด้วยการแรงงานและกฎหมาย
อื่นๆ แต่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาของอนุสัญญาทั้ง ๒ ฉบับนี้
ก็ยังกวัดแกว่งระหว่างการพร้อมรับน�าเนื้อหาของอนุสัญญามาใช้บังคับ
กับความชั่งใจในบริบทแวดล้อมต่างๆ ที่ยังไม่สอดรับหรือไม่พร้อม
จะเปลี่ยนแปลง (ก) ในทางกลับกัน เนื้อหาของกฎหมายเกี่ยวด้วย
การจ้างแรงงานโดยไม่เลือกปฏิบัติซึ่งเป็นเนื้อหาในอนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑
ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันกับอนุสัญญาฉบับนี้มาเป็นเวลาหนึ่ง และ
จะครบก�าหนด ๑ ปีในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ อันท�าให้ประเทศไทยต้อง
ปรับปรุงแก้ไขบทกฎหมายและแนวปฏิบัติภายในให้สอดคล้องกับเนื้อหา
ของอนุสัญญา กลับเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนักด้วยเหตุที่กฎหมาย
ฉบับอื่นๆ ที่ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานโดยตรงได้มีบทบัญญัติรองรับ
เนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้เป็นปฐมอยู่แล้ว โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย กอปรกับทางปฏิบัติในการจ้างงานเองก็มีการหยิบยก
ประเด็นปัญหาข้อนี้ขึ้นมาถกเถียงกันอยู่เป็นเนืองๆ โดยผ่านหลักการเรื่อง
ความรับผิดชอบต่อสังคม (Coporate Social Responsibility - CSR) (ข)
(ก) กำรรวมกลุ่มและกำรเจรจำต่อรอง
แม้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๔๒ ได้บัญญัติ
รับรองเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหกรณ์ หรือหมู่คณะอื่น
ซึ่งเป็นสารัตถะส�าคัญของอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ ไว้อย่างแจ้งชัด กอปรกับ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 155 13/2/2562 16:24:15