Page 155 - kpi20761
P. 155

154


                 บริบทและสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมทั้งภายในประเทศไทยและ
                 ภายนอกประเทศ และเร้าให้รัฐบาลจ�าเป็นต้องปฏิรูปบทบัญญัติกฎหมาย

                 แรงงานในบางเรื่องนั้นจะได้หยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์ในบทต่อไปอันถือเป็น
                 การตอบสนองต่อสถานการณ์ของประเทศที่รัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหาร
                 จัดการ หากแต่เรื่องดังกล่าวกลับไม่ได้เป็นประเด็นค�าถามที่สากลรอค�าตอบ

                 แต่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยเองต้องการแสดงศักยภาพในการแก้ไขปัญหา
                 ทางสังคมบางประการโดยใช้บทบัญญัติแรงงานเป็นเครื่องมือ





                         ๒.๒.๒   ประเด็นข้อกฎหมายที่รอการพัฒนา


                         ดังได้กล่าวมาแล้วว่า  ILO ได้ให้ความส�าคัญกับอนุสัญญา
                                           ๒๒๐
                 ๘ ฉบับในกลุ่มอนุสัญญาแกนเป็นหลัก เพราะถือว่าการยอมรับและ

                 น�าเนื้อหาในอนุสัญญากลุ่มนี้ไปปฏิบัติจะท�าให้เกิดมาตรฐานการใช้แรงงาน
                 พื้นฐานเดียวกัน อันยังมาซึ่งสันติภาพในสังคมโลก ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทย
                 ในฐานะเป็นหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง ILO จึงจ�าเป็นต้องถือเป็นพันธกิจ

                 หลักในการพัฒนากฎหมายแรงงานเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการวิเคราะห์
                 ประเด็นปัญหาของข้อกฎหมายภายในที่ยังไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาแกน

                 (๒.๒.๒.๑) ส่วนข้อกฎหมายแรงงานที่เป็นเรื่องซึ่งมีเนื้อหาเชื่อมโยงอนุสัญญา
                 บางฉบับที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไปแล้ว หากแต่ด้วยข้อกฎหมายเอง
                 หรือทางปฏิบัติกลับปรากฏว่ายังเกิดกระทู้ถามจากภาคีสังคมฝ่ายต่างๆ

                 ถึงความไม่สอดคล้องกับเนื้อหาในอนุสัญญาเช่นว่านั้น ก็ต้องถือเป็น
                 ความส�าคัญล�าดับรองที่ประเทศไทยจ�าเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงตาม

                 พันธสัญญาที่ได้ให้ไว้ (๒.๒.๒.๒)





                ๒๒๐  โปรดศึกษาย่อหน้าที่ ๘๒ เป็นต้นมา





         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   154                                    13/2/2562   16:24:15
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160